การพัฒนาจิตอาสาตามแนวทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระครูวิลาศกาญจนธรรม
แม่ชีกุลภรณ์ แก้ววิลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการพัฒนาจิตอาสาตามแนวทางพระพุทธศาสนา โดยศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ตำรา วารสารทางด้านแนวคิดทางพุทธศาสนา โดยเล็งเห็นความสำคัญของจิตอาสาที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งพบว่า ความเป็นผู้มีจิตอาสา ไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นได้ด้วยตนเองแบบฉับพลัน แต่เป็นภาวะที่ต้องเรียนรู้ รวมถึงการตระหนักรู้ด้วยตนเองอย่างลุ่มลึก และต้องพัฒนา ฝึกฝนด้วยหลักการอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะมีจิตอาสาอย่างแท้จริง การพัฒนาจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนาเป็นผู้บำเพ็ญปรหิตประโยชน์ คือ ประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น เป็นการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์และผสมผสานกันอย่างเป็นกระบวนการ โดยใช้หลักอิทธิบาท 4 อันประกอบด้วย 1. ฉันทะ มีใจรักที่จะทำ 2. วิริยะ พากเพียรทำ 3. จิตตะ เอาจิตใจฝักใฝ่ 4. วิมังสา ใช้ปัญญาทบทวน จากนั้น จึงนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้ เพื่อการอยู่ร่วมกับผู้อื่นโดยการสงเคราะห์กันและกัน ได้แก่ 1. ทาน การให้ 2. ปิยวาจา การใช้คำพูดสุภาพ อ่อนหวาน 3. อัตถจริยา การขวนขวายประพฤติตนให้เป็นประโยชน์ 4. สมานัตตตา การวางตนให้เหมาะสมกับเหตุการณ์และสภาพแวดล้อม องค์ความรู้ใหม่ คือ การได้กระบวนการพัฒนาจิตอาสาที่เรียกว่า ปัจจัยการเรียนรู้ภายใน ได้แก่ การพัฒนาตามหลักอิทธิบาท 4 และปัจจัยการเรียนรู้ภายนอก ได้แก่ การพัฒนาตามหลักสังคหวัตถุ 4

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ประพันธ์ ศุภษร และคณะ. (2555). กระบวนการพัฒนาจิตอาสาตามแนวพระพุทธศาสนา. รายงานการวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: เอส. อาร์. พริ้นตริ้ง แมส โปรดักส์.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2551). ยิ่งก้าวถึงสุขยิ่งใกล้ถึงธรรม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์. (2552). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก

พระสุระ ญาณธโร (จันทึก). (2561). การพัฒนาจิตสาธารณะตามแนวทางพุทธศาสนา. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2561 เรื่องการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาจิตใจและสังคมอย่างยั่งยืนในยุค Thailand 4.0. วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. วันที่ 9 กันยายน. หน้า 360-371.

พิทย์ธิดา พิทยสกุล และคณะ. (2563). พุทธธรรมกับการพัฒนาจิตอาสานักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (7), 12-24.

พุทธทาสภิกขุ. (2525). พุทธศาสนากับคนรุ่นใหม่และสังคมไทยในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4, 11, 19, 21, 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ. (13 ตุลาคม 2554). โลกวิปริต-พุทธทาสภิกขุ. สืบค้นเมื่อ 6 กันยายน 2564, จาก https://www.youtube.com/watch?v=6H7AipXeYZs

วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. (2549). คู่มือการศึกษาพระพุทธศาสนาพื้นฐาน. นครปฐม: มูลนิธิแนบมหานีรานนท์.

สัมพันธ์ คงพูนทรัพย์. (2560). การใช้หลักพุทธธรรมในการทำงานจิตอาสา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 2 (1), 1-14.

Woolfolk, A. (1993). Educational Psychology, 5th ed. Boston: Allyn & Bacon.