แนวกระบวนการสร้างนวัตกรจากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของนิสิตในรายวิชาเทคโนโลยีกับการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อวัดและประเมินผลทักษะและความรู้จากการเรียนรู้เชิงรุกของนิสิตในรายวิชารายวิชาเทคโนโลยีกับการพัฒนาสังคม 2) เพื่อสร้างนวัตกรที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งในชั้นเรียนและการทดลองปฏิบัติจริง งานชิ้นนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ภายใต้แนวคิดการวิจัยในชั้นเรียนโดยวัดผลนิสิตใน 3 ด้าน ได้แก่ พุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัยของนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด 9 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจนิสิตทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสำรวจความคิดเห็นทั้งก่อนเรียนและหลังเรียน และการสังเกตการณ์พร้อมทั้งจดบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลที่ได้จากการจัดการเรียนรู้เชิงรุกได้ใช้ 8 กิจกรรม เพื่อวัดทักษะและความรู้ใน 3 ด้าน คือ (1) ด้านพุทธิพิสัย พบว่า นิสิตร้อยละ 75 จากผู้ที่เข้าเรียนและทำแบบทดสอบครบมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจในรายวิชาหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน (2) ด้านจิตพิสัย นิสิตส่วนใหญ่มีความคิดเห็นในทิศทางบวกต่อรายวิชาทั้งก่อนและหลังเรียน (3) ด้านทักษะพิสัย นิสิตให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียนเป็นอย่างดี 2) กระบวนการเหล่านี้ส่งผลให้เกิดผลผลิตผลลัพธ์ในการสร้างนวัตกรรมร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนจากการนำความรู้ในรายวิชาไปประยุกต์ใช้ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้นวัตกรรมปุ๋ยชีวภาพและถ่านชีวภาพมูลวัว นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดนวัตกรที่เป็นนิสิตจำนวน 9 คน และเกษตรกรในชุมชนอีกจำนวน 5 คน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ดวงใจ สมภักดี. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการจัดการอาชีพสำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงทางการบัญชี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมการอาชีวศึกษา. 1 (2), 67-79.
ดวงเดือน พันธุมนาวิน. (2559). ทฤษฎีต้นไม้จริยธรรมในทศวรรษที่สี่ (พ.ศ. 2549-2559). เอกสารประกอบการประชุม “สี่ทศวรรษใต้ร่มทฤษฎีต้นไม้จริยธรรม”. โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร. วันที่ 25 พฤศจิกายน.
นิลมณี พิทักษ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2560). การพัฒนานวัตกรรมการสอนแบบผสมผสานโดยใช้โครงงานเป็นฐาน รายวิชา 468310 เทคนิคการนำเสนอและการจัดนิทรรศการ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 10 (1), 679-693.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2556). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรัญญา เนตรธานนท์. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้และทัศนคติต่อการเรียนสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี. 16 (4), 100-110.
สิทธิพร ชุลีธรรม และคณะ. (2563). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนระหว่างการใช้การ เรียนการสอนแบบ Active Learning โดยใช้นวัตกรรมการสอน Google Classroom กับการเรียนการสอนแบบปกติ (Passive Learning) กรณีศึกษาการจัดการเรียนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ไทย. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยมหิดล. 7 (2), 203-220.
อรนุช มั่งมีสุขศิริ. (2562). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณลักษณะและทักษะของนักประดิษฐ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.