การประเมินโครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็ก ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

อลงกต ภู่จีนาพันธุ์
ณัฏฐิมา มากชู

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการดำเนินงานตามโครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็กเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเลือกใช้ตัวแบบปัจจัยนำเข้าและผลผลิตกำหนดกรอบแนวคิดการประเมิน ใช้ แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ มารดากลุ่มเป้าหมาย เจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลท่าปลา และคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา จำนวน 21 คน ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า โครงการประสบผลสำเร็จโดยมีผลการประเมินการดำเนินงาน ดังนี้ ด้านประสิทธิภาพ ได้แก่ ปัจจัยนำเข้าสู่โครงการพบว่า มีความพร้อมและเหมาะสม กระบวนการดำเนินงานตามโครงการพบว่า ดำเนินงานได้ดี ส่วนด้านประสิทธิผล ได้แก่ ผลผลิตจากโครงการพบว่า มารดากลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการฝากครรภ์ในระดับมากและมีการดูแลในระยะตั้งครรภ์ในระดับมาก ผลลัพธ์จากโครงการพบว่า มารดากลุ่มเป้าหมายทั้งหมดไม่มีอัตราการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 ส่วนใหญ่มีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหลังคลอดอย่างน้อย 6 เดือน ด้านความพึงพอใจของผู้ให้การสนับสนุนโครงการ พบว่า ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับพอใจมาก และด้านปัญหาอุปสรรค ได้แก่ 1) ความไม่พอเพียงและเหมาะสมของงบประมาณและทรัพยากร 2) ปัญหาการอนุมัติโครงการที่ล่าช้า 3) ปัญหาการขาดความสม่ำเสมอในการตรวจสอบคุณภาพของวัสดุ อุปกรณ์และสถานที่ และ 4) ปัญหามารดากลุ่มเป้าหมายที่ติดตามผลได้ยาก องค์ความรู้จากการวิจัยพบว่า 1) โครงการภาครัฐมักพบเจอปัญหาเรื่องงบประมาณ ภาครัฐควรจัดสรรงบประมาณสู่โครงการให้มีความเหมาะสม และ 2) ภาครัฐควรสนับสนุนให้เกิดการแก้ไขปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะทำงานศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี. (2556). คู่มือแนวทางการบริหารจัดการปัญหาทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยแบบมืออาชีพ เครือข่ายบริการที่ 10. อุบลราชธานี: กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี.

ณัฏฐิมา มากชู. (2545). การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยใช้งบประมาณพิเศษปี 2544 ตามแผนก่อหนี้ต่างประเทศ ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

รัชนี มิตกิตติ และคณะ. (2544). ประเมินผลโครงการลดจำนวนทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม สำนักงานสาธารณสุขเขต 10. วารสารสภาการพยาบาล. 16 (2), 37-51.

โรงพยาบาลท่าปลา. (2561). นโยบายการดำเนินงานโรงพยาบาลมาตรฐานงานอนามัยแม่และเด็กโรงพยาบาลท่าปลา. อุตรดิตถ์: โรงพยาบาลท่าปลา.

โรงพยาบาลท่าปลา. (2563). โครงการสร้างเสริมสุขภาพแม่และเด็กเขตองค์การบริหารส่วนตำบลท่าปลา อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ปีงบประมาณ 2563. อุตรดิตถ์: โรงพยาบาลท่าปลา.

วรรณภา ทองแดง. (2551). การประเมินผลโครงการอยู่ดีมีสุข ในปีงบประมาณ 2550: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จกับพื้นที่ที่ไม่ประสบความสำเร็จอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิเชียร วิทยอุดม. (2551). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล และเนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ. (2556). การประเมินผลโครงการการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 19 (2), 31-45.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสำนักนายกรัฐมนตรี.

Gulick, L. (1937). Notes on the Theory of Organization. Papers on the Science of Administration. New York: Institute of Public Administration.

Reid, N. (2015). Florida Women, Infants, and Children Mock Program Evaluation. Florida: Florida State University College of Education.