การสร้างเครือข่ายการค้าโค-กระบือในภาคอีสาน: กรณีศึกษานายฮ้อยชุมชนบ้านหนองแก ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วงปี พ.ศ. 2550-2564
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของการค้าโค-กระบือ รวมถึงการสร้างเครือข่ายการค้าโค-กระบือของนายฮ้อยชุมชนบ้านหนองแก ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยใช้วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์บอกเล่าและชุดข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า ก่อนปีพ.ศ. 2470 การค้าโค-กระบือของนายฮ้อยชุมชนบ้านหนองแกใช้วิธีการค้าแบบไล่ต้อน โดยอาศัยเส้นทางเกวียนเป็นหลักและอาศัยเครือข่ายญาติเสมือนที่เรียกว่า เสี่ยว เป็นผู้จัดหาและรับซื้อโค-กระบือไว้ให้ตามเส้นทางไล่ต้อน ต่อมาช่วงปี พ.ศ. 2481-2520 รัฐได้เริ่มพัฒนาเส้นทางคมนาคม โดยดำเนินการสร้างเส้นทางรถไฟและถนนมิตรภาพ ทำให้นายฮ้อยใช้รถไฟและรถบรรทุกเป็นพาหนะในการขนส่งโค-กระบือไปขายแทนการไล่ต้อน ส่งผลให้การค้าแบบไล่ต้อนได้หายไป โดยเฉพาะช่วงปี พ.ศ. 2521-2550 กลุ่มนายฮ้อยได้เปลี่ยนมาใช้รถบรรทุกเป็นพาหนะในการขนส่งโค-กระบือไปขายอย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากเส้นทางคมนาคมมีความสะดวกมากขึ้น และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2564 การค้าโค-กระบือเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การค้าในระบบใหม่ที่เรียกว่า การค้าออนไลน์ นายฮ้อยยุคใหม่ได้ค้าโค-กระบือผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เฟซบุ๊ก และเว็บเพจต่าง ๆ ทำให้การค้าโค-กระบือมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น องค์ความรู้ใหม่ คือ วิธีการสร้างเครือข่ายการค้าโค-กระบือของกลุ่มนายฮ้อยถูกปรับเปลี่ยนไปตามบริบทการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ-สังคมอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ปัจจุบันพบการสร้างเครือข่ายทางการค้าโค-กระบือและความสัมพันธ์รูปแบบใหม่ผ่านไลน์ เฟซบุ๊ก เว็บไซต์และเพจต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและกว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ และพนา กันธา. (2563). ระบบนายหน้าค้าวัวควายข้ามแดน:การค้าแบบกึ่งทางการ ความเสี่ยงและอำนาจที่เหลื่อมล้ำ. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. 11 (2), 141-160.
โคราชในอดีต. (25 กุมภาพันธ์ 2563). บรรยากาศในร้านค้าที่ อ.โนนวัด (อ.โนนสูง) โคราชในอดีต เมื่อปี พ.ศ. 2479. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2565, จาก https://m.facebook.com/korat.in.the.past/posts/2764236113645136/
จงกล มีสวัสดิ์. (2565). ชาวบ้านหนองแก ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
จันทร์เพ็ญ โพธิ์กลาง. (2565). ชาวบ้านปาฝา ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด ข้อมูลภาคสนาม. 19 มกราคม.
เดลินิวส์วาไรตี้. (7 พฤศจิกายน 2560). นายฮ้อย มากกว่า “ตำนาน” การเปลี่ยนผ่านให้ทันยุคสมัย. เดลินิวส์. น. 4-7.
ติ่ง พันธไชย. (2564). ชาวบ้านหมูม้น ตำบลหมูม้น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 30 ธันวาคม.
ทวี รักษาภักดี. (2564). ชาวบ้านสงเปลือย ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 11 ธันวาคม.
ทองดี มณีวรรณ. (2565). ชาวบ้านโนนสว่าง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
ธรรมนูญ ครุฑวงศ์. (2564). ชาวบ้านหนองแก ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 11 ธันวาคม.
นิคม คำทองสุข. (2564). อายุ 67 ปี. ชาวบ้านหนองตื่น ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 11 ธันวาคม.
บุญถม เขวาภักดี. (2564). ชาวบ้านปาฝา ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.
บุญโฮม นิละพันธ์. (2565). ชาวบ้านโนนสว่าง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
ประสิทธิ์ แก้วสิงห์. (2517). การปรับปรุงการเกษตรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2435- พ.ศ. 2453. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เผ่า แน่นอุดร. (2564). ชาวบ้านปาฝา ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 29 ธันวาคม.
พอพันธ์ อุยยานนท์. (2558). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ 5 ภูมิภาคของไทย. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
พัชราภา กองพลพรม. (2565). ชาวบ้านแดง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
พิภู บุษบก. (2560). พัฒนาการของกลุ่มทุนจีนในภาคอีสานตอนบนของประเทศไทย พ.ศ. 2474-2559. กรุงเทพมหานคร: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
ไล แน่นอุดร. (2564). ชาวบ้านปาฝา ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 11 ธันวาคม.
วิรัตน์ ทิปะณี. (2565). ชาวบ้านหนองไผ่ ตำบลรอบเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
สัญญา สัญญาวิวัฒน์. (2523). การพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.
สุนทร นิลพันธ์. (2565). ชาวบ้านปาฝา ตำบลปาฝา อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
สุพัฒน์ เคนหงส์. (2564). ชาวบ้านเขวา ตำบลเขวา อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. สัมภาษณ์. 11 ธันวาคม.
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (18 พฤศจิกายน 2564). กำเนิด “รถไฟสายอีสาน” เมื่อ “สนธิสัญญาเบาริ่ง” ทำให้เกิดทุนนิยมในพื้นที่. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_29204
สุวิทย์ ธีรศาศวัต. (2529). การค้าวัวควายในลุ่มแม่น้ำชีตั้งแต่ทศวรรษ 2470 ถึงปัจจุบัน. ขอนแก่น: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสน่ห์ อารมณ์เอื้อ. (2565). ชาวบ้านแดง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง ร้อยเอ็ด. สัมภาษณ์. 12 มกราคม.
อนันต์ ฉายอรุณ. (2565). ชาวบ้านเขาวัง ตำบลเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ กาญจนบุรี. สัมภาษณ์. 19 มกราคม.
Teenee Variety. (22 กรกฎาคม 2562). ที่มาของนายฮ้อยอีสาน. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2565, จาก https://variety.teenee.com/world/77897.html