การประยุกต์หลักธรรมในโอวาทปาติโมกข์เพื่อเสริมสร้างดุลยภาพชีวิตตามหลักนิยาม 5

Main Article Content

สุภเชษฐ์ จงธนากร

บทคัดย่อ

สังคมในปัจจุบันมุ่งเน้นสร้างชีวิตมนุษย์ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ด้วยความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่เป็นค่านิยมที่ดี รวมถึงการมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ด้วยการเจริญเติบโตทางวิญญาณ จิตสาธารณะและทำประโยชน์ต่อส่วนรวม สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนเป็นชีวิตที่เพียบพร้อมสำหรับชีวิตมนุษย์ แต่ในความเป็นจริงมนุษย์ยังขาดดุลยภาพชีวิต จึงทำให้เกิดความทุกข์ในปัจจุบัน รวมถึงในอนาคตที่ต้องดำเนินชีวิตต่อไปด้วยความไม่สมบูรณ์แห่งดุลยภาพ ชีวิตมนุษย์จึงต้องศึกษาและทำความเข้าใจชีวิตให้ถ่องแท้ ในบทความนี้จึงนำเสนอหลักการทำความเข้าใจและการปรับสมดุลภาพของชีวิตในประเด็นต่อไปนี้ 1) ดุลยภาพชีวิต 2) วิวัฒนาการของชีวิต 3) องค์ประกอบของชีวิต 4) หลักโอวาทปาติโมกข์ 5) การนำหลักโอวาทปาติโมกข์มาใช้ในการสร้างดุลยภาพชีวิตตามนิยาม 5 องค์ความรู้ที่ได้ คือ แนวทางการปรับตัวให้เกิดดุลยภาพในชีวิต โดยวิธีการการใช้กฎของธรรมชาติ 5 ประการ ได้แก่ อุตุนิยาม พีชนิยาม จิตนิยาม กรรมนิยาม และธรรมนิยาม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

เฉก ธนะสิริ. (2544). ปรัชญาแห่งชีวิต การกำเนิดของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ฟ้าอภัย.

ชาลส์ ดาร์วิน. (2557). วิวัฒนาการแห่งชีวิต. นันทวิทย์ พรพิบูลย์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์.

ประเวศ วะสี. (2553). ธรรมชาติของสรรพสิ่ง. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์.

พระพุทธโฆสเถระ. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมรรค, พิมพ์ครั้งที่ 6. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุรุทธเถระ และพระญาณธชะ. (2552). อภิธรรมมัตถสังคหะและปรมัตถทีปนี. พระคันธสาราภิวงศ์. (ผู้แปล). ลำปาง: วัดท่ามะโอ.

ฟริตจอฟ คาปร้า. (2556). ข่ายใยแห่งชีวิต: ความเข้าใจใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยระบบที่มีชีวิต. สว่าง พงศ์ศิริพัฒน์. (ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 10, 14, 17, 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ เล่ม 10. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม. (2544). พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย ฉบับทันสมัย Se-Ed’s Modern. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2562). พุทธธรรม (ฉบับเดิม), พิมพ์ครั้งที่ 38. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้ง.

สุวิญ รักสัตย์. (2561). นวัตกรรมเชิงพุทธิปัญญา: การปรับสมดุลชีวธาตุเพื่อความอยู่รอดในโลกเสมือนจริง.นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

เสริมสุข วิจารณ์สถิต. (2561). พัฒนาการของกำเนิดมนุษย์ในครรภ์เชิงเปรียบเทียบทรรศนะทางพุทธศาสนาและสูติศาสตร์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสภา.