การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษาสู่ความสำเร็จขององค์การยุคใหม่

Main Article Content

ทิพย์วรรณ สุพิเพชร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยฝ่ายบริหารต้องมีกลยุทธ์ในการบริหารเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การกำหนดกลยุทธ์ด้านกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา โดยใช้วงจรคุณภาพเดมมิ่งเป็นแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติ เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา ทั้งภายในและภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพมี 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การตรวจสอบ และการแก้ไขปรับปรุง ขั้นที่ 2 การกำหนดกลยุทธ์ด้านใช้หลักสัปปายะ ทำให้เกิดการบริหารภูมิทัศน์พื้นที่สีเขียว อาคารสถานที่สวยงาม สภาพแวดล้อมให้มีสุขอนามัย และวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัย ขั้นที่ 3 การกำหนดกลยุทธ์ด้านปัจจัยแวดล้อมในการบริหารสถานศึกษา โดยนำปัจจัยแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างของสถานศึกษา เป็นการบริหารจัดการตามสายงานบังคับบัญชา มีการกำหนดรูปแบบและกิจกรรมตามพันธกิจ 2) ด้านการบริหารจัดการ เป็นการบริหารจัดการสิ่งต่าง ๆ ภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ การวางแผน การพัฒนางาน การบังคับบัญชา และความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร เพื่อให้การปฏิบัติงานได้สำเร็จด้วยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากร 3) ด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ลักษณะความเป็นอยู่ของบุคลากร ความแตกต่างของบุคลากร รวมถึงความสามัคคีของบุคลากร ถ้าหากบุคลากรทุกคนในองค์กรมีความสามัคคีปรองดองกัน การกำหนดนโยบายต่าง ๆ ย่อมมีความสำเร็จและเป็นไปได้โดยง่าย องค์ความรู้ใหม่ คือ หลักการบริหารจัดการในสถานศึกษาเพื่อทำให้ปัญหาที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมลดน้อยลง เพิ่มคุณภาพการเรียน ควบคู่ไปกับการดูแลสุขภาพอนามัยของพระภิกษุสงฆ์และสามเณรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นการบูรณาการของกลไกการจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาหลักสัปปายะและปัจจัยแวดล้อมในการบริหารสถานศึกษาร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กฤติยา จินตเศรณี. (2557). การบริหารทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์ของสายสนับสนุนวิชาการเพื่อรองรับการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยของมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

กองพุทธศาสนศึกษา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2558). แผนยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

ฉัตรชัย ชนมุนี. (2555). การศึกษาการบริหารงานสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธงชัย แสงโพลง. (2546). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นพรัตน์ สายลุน. (2546). การดำเนินงานเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกราม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีษะเกษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

นรา สมประสงค์ และเสรี ลาชโรจน์. (2546). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษา ประมวลสาระชุดวิชาการจัดการศึกษา หน่วยที่ 9 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พิชญ์สินี จิตต์ว่องไว. (2557). การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

วนิดา หมั่นผดุง. (2555). สภาพแวดล้อมทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก สุระกุล. (2549). ศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุภาภร มากแจ้ง และสมปอง มากแจ้ง. (2542). การศึกษาสภาพการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์. รายงานการวิจัย. กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอก รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา.