พลังบวรสู่ความเข้มแข็งของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พระศิระ จิตฺตสุโภ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลังบวรสู่ความเข้มแข็งของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้พลังบวรของชุมชนคุณธรรมต้นแบบวัดท่าขนุน เป็นตัวอย่างหนึ่งในการพัฒนาชุมชน โดยกระบวนการพัฒนามีลักษณะเฉพาะตน มีหลักการ วิธีการและกระบวนการในการดำเนินงานที่ชัดเจน แนวทางในการทำงานด้านการพัฒนาชุมชนได้มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันเป็นคณะ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนคุณธรรมวัดท่าขนุนมีสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ด้วยการเริ่มจากการร่วมมือกันระหว่างชาวบ้าน ผู้นำชุมชน วัด โรงเรียนและส่วนราชการที่ต้องประชุมเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชุมชนในด้านต่าง ๆ เพื่อวางแผนดำเนินการแก้ไขหรือปรับปรุง โดยมีการมุ่งพัฒนาชุมชน 2 ด้าน คือ 1) กระบวนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ 2) กระบวนการพัฒนาด้านศีลธรรม อันทำให้คนในชุมชนเห็นศักยภาพของชุมชนและเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาศักยภาพของตนเองและชุมชน ผ่านกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกรักชุมชนและภูมิใจในความเป็นชุมชนตนเอง โดยผลที่ได้จากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ คือ 1) เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ 2) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น 3) ชุมชนมีแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ และผลจากด้านศีลธรรม คือ 1) คนเข้าถึงหลักธรรมมากขึ้น 2) ชุมชนสงบสุข 3) ประชาชนมาปฏิบัติธรรมที่วัดท่าขนุนเพิ่มมากขึ้น องค์ความรู้ใหม่ คือ 1) การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 2) การกระตุ้นสำนึกร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูล 3) การประสานงานกับภาคีเครือข่าย ทั้งหมดเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้พลังบวรในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนคุณธรรมตามโครงการต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งขับเคลื่อนโครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกโครงการมีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กันยารัตน์ แย้มศรีแก้ว. (2558). การบริหารจัดการความร่วมมือของ บ้าน วัด โรงเรียน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฏฐวุฒิ ทรัพย์อุปถัมภ์. (2558). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. จันทบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ธีรพล กอบวิทยากุล และคณะ. (2556). การเรียนรู้จากงานบริการวิชาการ: การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน. รายงานการวิจัย. งานบริการวิชาการแก่สังคมและการประกันคุณภาพการศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์และวัดนักบุญอันนา.

ยุรนันท์ ตามกาล. (2557). บ้าน วัด โรงเรียน กับการใช้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงในการส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว. Journal of HR Intelligence. 9 (1), 12-31.