ยุทธศาสตร์การจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

Main Article Content

พระครูวิลาศกาญจนธรรม
พระมหาอินทรปกรณ์ ฐิตสุโภ

บทคัดย่อ

แนวคิดของพระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. คือ ทำให้วัดเป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยใช้แนวคิด 1 ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธวิธี ของสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรี แห่งที่ 23 วัดท่าขนุน ทำให้ได้รับรางวัลสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกให้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นประจำปี 2553 และรางวัลสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่มีผลงานดีเด่นต่อเนื่องประจำหนกลาง ประจำปี 2565 ซึ่งในการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดให้ได้ดีนั้น เจ้าสำนักซึ่งเป็นผู้นำนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. มีภาวะผู้นำ และมีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยม สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่นของวัดท่าขนุน
มีมาตรฐานตามเกณฑ์ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วย ด้านสถานที่ ได้รับการพัฒนาให้ร่มรื่น สะอาด สวยงาม เหมาะสมกับการปฏิบัติธรรม ด้านบุคลากร เจ้าสำนักเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเป็นที่น่าเคารพเลื่อมใส มีพระวิปัสสนาจารย์ที่มีความสามารถในการสอนธรรมนำปฏิบัติ สามารถตอบปัญหาข้อข้องใจของผู้เข้ารับการปฏิบัติธรรมได้อย่างชัดเจน มีคณะทำงานแบ่งฝ่ายกันรับผิดชอบอย่างชัดเจน ด้านงบประมาณ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยราชการ มีกองทุนหรือมูลนิธิของวัด และรับบริจาคตามศรัทธา ด้านการบริหารจัดการ มีการนำเอาระบบการจัดการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการสำนัก มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ตามสื่อต่าง ๆ อย่างทั่วถึง องค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ วิธีทำให้วัดกลับไปเป็นศูนย์รวมของชุมชน โดยใช้ 1.สร้างศรัทธา 2.หาต้นทุน 3.เสริมของเก่า 4.สร้างของใหม่ 5.เทิดไท้องค์ราชัน 6.ประสานสิบทิศ และ7.เสริมสร้างคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชน ถ้าหากว่าสำนักปฏิบัติธรรมอื่น ๆ ปฏิบัติตามแนวคิด 1 ยุทธศาสตร์ 7 ยุทธวิธีแล้ว พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร. มีความเชื่อมั่นว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

ธรรมลีลา. (2555). ธรรมะกับสุขภาพ: 10 ผลดี ที่ได้จากการทำสมาธิ. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566 https://mgronline.com/dhamma/detail/9550000044823

พระเทพปริยัติเมธี. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความพอเพียงบนพื้นฐานการขับเคลื่อนตามแนวประชารัฐ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10(2) 611-624.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ ปสิวิโก) และคณะ. (2562). รูปแบบการเผยแผ่พุทธธรรมสำหรับคนในพุทธศตวรรษที่ 26 เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 8(4) 17-33

พระไพศาล วิสาโล. (2552). ทำไมต้องปฏิบัติธรรม. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565 https://www.visalo. org/book/tumMai.html

พระครูวิโรจน์เขมคุณ (ไพโรจน์ เขมจิตฺโต). (2562). แนวทางการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในยุคปัจจุบัน. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์. 7(2) 177-194.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม. (2564). การจัดการทางยุทธศาสตร์ของวัดท่าขนุนตามรูปแบบการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้วยกระบวนการวิเคราะห์สวอต. วารสาร มจร กาญจนปริทรรศน์. 1 (1), 43-57.

พระครูวิลาศกาญจนธรรม. (2565). เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน 2565. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565, จาก https://www.youtube.com/watch?v=q5OOKT5M67c.

พระทรงศักดิ์ ถิรธมฺโม. (2564). ผลสัมฤทธิ์จากการปฏิบัติธรรมของประชาชนที่วัดมเหยงคณ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. Journal of Buddhist Innovation and Management. 4(1) 58-64.

พระมหาใจสิงห์ เถื่อนศรี และคณะ. (2565). การปฏิบัติธรรม คือ วิถีทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 9(1) 163-177.

มนตร์ธัช ยานันท์บุญสิริ, พิณสุดา สิริธรังศรี และ อุทัย บุญประเสริฐ. (2565). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสํานักปฏิบัติธรรมประจําจังหวัด. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 10(2) 2384-2396.

วัดภัททันตะอาสภาราม. (2563). อานิสงส์การปฏิบัติ. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565 https://www.wat bhaddanta.com/หน-งส-อธรรมะ/บทความธรรมะ/อาน-สงส-การปฏ-บ-ต/

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). ทะเบียนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ตามมติมหาเถรสมาคม. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2566

https://www.onab.go.th/th/content/category/detail/id/20/iid /32919

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี. (2565). สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมพิธีมอบประกาศเกียรติคุณ พัดรองและผ้าไตร แก่สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2565. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565 https://kri. onab.go.th/th/content/page/ index/id/34021

สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดกาญจนบุรี. (2565). สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดกาญจนบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565 https://kri.onab.go.th/th/content/page/ index/id/9833

Harvard Health. (2023). Benefits of Mindfulness. Accessed on February 25, 2023. https://www. helpguide.org/harvard/benefits-of-mindfulness.htm

Powell, A. (2018). When science meets mindfulness. Accessed on December 25, 2022. https:// news.harvard.edu/gazette/story/2018/04/harvard-researchers-study-how-mindfulness-may-change-the-brain-in-depressed-patients/