ปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

Main Article Content

มนัส พิพัฒนนันท์
บุญเชิด ชำนิศาสตร์
ยุทธวีร์ แก้วทองใหญ่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พบว่า การท่องเที่ยวเชิงอาหารเป็นการเดินทางเพื่อได้สัมผัสถึงประสบการณ์ทางด้านอาหารในแต่ละพื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์หลัก คือ ความบันเทิงและสันทนาการ และสร้างรายได้ที่มีมูลค่าสูง โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีการใช้จ่ายด้านอาหารมากที่สุด และการท่องเที่ยวเชิงอาหารช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ทำให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวในทุกจังหวัดในประเทศไทย ทำให้การท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสู่การเติบโตในอนาคต การท่องเที่ยวเชิงอาหารมี 4 ประเภท ได้แก่
1) ทัวร์อาหารหรือ เส้นทางรสชาติ 2) พิพิธภัณฑ์อาหาร 3) เทศกาลอาหาร และ 4) การเรียนปรุงอาหาร ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นตลอดจนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านอาหาร องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการศึกษา คือ การจัดการการท่องเที่ยวที่ครอบคลุมการพัฒนาแบบองค์รวมใน 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม โดยใช้การมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นเป็นที่มาของรายได้ การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม วิถีชีวิตอันดีงาม และการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการท่องเที่ยวเชิงอาหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนเกิดจาก 1) การเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรศาสตร์ 2) แนวโน้มการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น 3) การแสวงหาความเป็นเอกลักษณ์ในแต่ละท้องถิ่นยังคงเป็นที่นิยม 4) การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ และ 5) แรงจูงใจของนักท่องเที่ยวสมัยใหม่ ดังนั้น การท่องเที่ยวเชิงอาหารจึงส่งเสริมสถานการณ์การท่องเที่ยวให้แก่ประเทศไทยและสามารถตอบสนองกับเป้าหมายของสหประชาชาติ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กมลชนก จันทร์เกตุ. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะยอ จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559–2563 กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). รายงานประจำปี 2561 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

งานองค์ความรู้ สำนักบริหารยุทธศาสตร์. (2559). ใส่ใจไปเที่ยวกับ อพท. การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. กรุงเทพมหานคร: โคคูน แอนด์ โค.

โตมร สุขปรีชา. (2560). Food tourism 2.0. TAT Review Magazine. 3 (1), 1-2.

บัณฑิต อเนกพูนสุข. (2560). Food on the Move. จุลสารวิชาการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 3 (1), 8-19.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการทองเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ ดีไซน.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร: ศักยภาพและความได้เปรียบของประเทศไทย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. 24 (1), 103-116.

พรรณี สวนเพลง และคณะ. (2559). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร. รายงานภาวะเศรษฐกิจท่องเที่ยว. 4 (2), 38-45.

ภูริ ชุณห์ขจร. (2560). ยุทธศาสตร์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 11 (ฉบับพิเศษ). 321-332.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). ท่องเที่ยวเชิงอาหาร. กรุงเทพมหานคร: โคคูน แอนด์ โค.

Hjalager, A. M. and Richards. G.. (2002). A Typology of Gastronomy Tourism. In Tourism and Gastronomy. London: Routledge.

National Geographic Asia ฉบับภาษาไทย. (17 เมษายน 2562. ท่องไปในเส้นทางสายอาหารและการกินแห่งดินแดนอาเซียนผ่านการท่องเที่ยวเชิงอาหาร. สืบค้นเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2565, จาก https://ngthai.com/news-activity/20864/gastronomy/