นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษากิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
วิภา ภาคีมิตร
ศุภวรรณ เฮงประสาทพร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษาที่เหมาะสมกับสภาพการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม 2) ศึกษาผลของการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษาของบทเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม
3) เปรียบเทียบความสามารถทางการเรียนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อมชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้,แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) กลุ่มประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 9 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ครูที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน จำนวน 7 คน โดยมีวิธีดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1) ดำเนินการทดสอบก่อนเรียน 3)ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา 4) ดำเนินการทดสอบหลังเรียน (Post-test) และ 5) เก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา มีความเหมาะสมกับรายวิชาวิทยาศาสตร์และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ มีความรู้ความเข้าใจสามารถนำไปใช้ได้ 2) การใช้กระบวนการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา สามารถพัฒนาความรู้ความเข้าใจได้โดยหลังจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ นักเรียนสามารถทำแบบฝึกหัด/ใบงานได้ระดับดี 3) นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น มีคะแนนเฉลี่ย 6.42 คิดเป็นร้อยละ 64.20 แสดงว่า ความสามารถทางการเรียนหลังการใช้กิจกรรมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐม ที่พัฒนาขึ้นนี้เน้นให้นักเรียนได้มีการฝึกกระทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายรูปแบบ ทำให้นักเรียนฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ
4) ครูและผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้เชิงรุกและเกมการศึกษา รายวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดนครปฐมในระดับดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ เสียงล้ำ และคณะ. (2022). การศึกษาผลการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์หน่วยสิ่งมีชีวิตและชีวิตของ พืชของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ด้วยชุด กิจกรรม STEM. วารสารครุศาสตร์คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร, 6(12), 1-14.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ และคณะ. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E -Learning) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนจิ่นเต๊อะแก่งคอย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 14(2), 28-42.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การบริหารงานวิชาการบทเรียนสําเร็จรูปของชั้นประถมศึกษาโรงเรียนบ้านหนองลุมพุก จังหวัดชัยภูมิ. วารสารครุทรรศน์ (Journal of UBRU Educational Review (Online), 2(3), 41-52.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในวิชาภาษาไทย เรื่อง หลักการใช้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดแจ้งลำหิน (พูนราษฎร์อุปถัมภ์) อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(2), 49-63.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). การพัฒนาบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เรื่องการทําเครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญเกาะเกร็ด อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร. วารสารนวัตกรรมการศึกษาในอนาคต, 1(1), 1-16.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2565). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาบทเรียน M–Learning ร่วมกับรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เรื่อง สถานที่สำคัญและแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดสมุทรสาครชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางปลา. วารสารชัยภูมิปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์ชัยภูมิ, 5(3), 28-40.

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์. (2566). นวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้ของครูในกลุ่มสาระสังคมศึกษาเรื่องคุณธรรมและจริยธรรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านสงาว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 3(1), 70-77.

ปรเมศวร์ บุญยืน และคณะ. (2022). การวิจัยและพัฒนาบทเรียนออนไลน์สาระภูมิศาสตร์ผ่านระบบจัดการการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 18(1), 37-59.

ภริมา วินิธาสถิตกุล & ชนินันท์ แย้มขวัญยืน. (2565). การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่ เป็นเลิศในศตวรรษที่21. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 921-933.

ภิญโญ วงษ์ทอง & สมเสมอ ทักษิณ. (2564). การศึกษาความพร้อมพฤติกรรมการเรียนรู้และความพึง พอใจของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ที่ มีต่อการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. ชัยภูมิเวชสาร, 12(2), 166-180.

เสาวรี ภบาลชื่น. (2022). การสอนนาฏศิลป์ในยุคศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 16(2), 7-19.