ปัญญาพละในพระเจ้าอโศกมหาราช

Main Article Content

รุจี ตันติอัศวโยธี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาว่า “ปัญญาพละ” คืออะไร และเป็นอย่างไร 2) เพื่อศึกษา “ปัญญาพละ” ในพระเจ้าอโศกมหาราช พบว่า 1) “ปัญญาพละ” คือ กำลังปัญญา สามารถวินิจฉัยและดำเนินการให้บรรลุผล “ปัญญาพละ” เป็น หนึ่งในห้าของ “พละ 5” อันประกอบด้วย “พาหาพละ/กายพละ” (กำลังความสามารถในการรบ), “โภคพละ” (กำลังทรัพย์), อมัจจพละ กำลังข้าราชการ (อำมาตย์), “อภิชัจจพละ” (กำลังแห่งความมีตระกูลสูง) และ “ปัญญาพละ” (กำลังแห่งปัญญา) 2) “ปัญญาพละ” ในพระเจ้าอโศกมหาราชนั้น เกิดจาก “สุตตมยปัญญา” คือปัญญาที่เกิดจากการสดับตรับฟังและประสบการณ์ตรงที่พระองค์ทรงได้รับ, “จินตามยปัญญา” คือปัญญาที่เกิดจากการคิดพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ไม่ประมาท และ “ภาวนามยปัญญา” คือปัญญาที่เกิดจากการพัฒนาทางจิต การฝึกฝนและการปฏิบัติ องค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ พระเจ้าอโศกมหาราชทรงผสาน “พลังปัญญา” รวมกับพลังด้านอื่นๆ ของพระองค์ แล้วนำมาบูรณาการร่วมกัน จนพระองค์ทรงสามารถปฏิรูปพระองค์เองและปฏิรูปสังคม ทรงหยุดกระทำการรบ ทรงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแว่นแคว้นต่างๆ รวมทั้งทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงให้ความสำคัญต่อทุกชีวิต ทุกศาสนา ทรงได้รับการถวายพระนามว่า “อโศกมหาราช”

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เนห์รู, ชวาหะร์ลาล. (2515). พบถิ่นอินเดีย แปลโดย กรุณา กุศลาสัย. พระนคร: กมลากร.

(พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.

รุจี ตันติอัศวโยธี. (2565). ขัตติยพละ 5 ในพระเจ้าอโศกมหาราช. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดีการพิมพ์ จำกัด.

วรรณคดีแห่งชาติ, คณะกรรมการ. (2556). วรรณคดีแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำกัด.

สุเทพ พรมเลิศ. (2553). การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์มหาวงศ์. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Ven,S. Dhammika. (8 August 2021). The Edicts of King Ashoka. From https://www.accesstoinsight.org/lib/authors/dhammika/wheel386.html.