การบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนม และมุกดาหาร

Main Article Content

ชาติชาย อ้วนเสมอ
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชน ข้าราชการในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนมและมุกดาหาร จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล


ผลการวิจัยพบว่า ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{}=3.06 S.D.=0.37)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร ตัวแปรต้น โดยรวมทุด้าน พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามแนวชายแดนจังหวัดนครพนมและมุกดาหาร อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.05 S.D.=0.36)


แนวทางควรมีการส่งเสริมที่พักที่ให้นักท่องเที่ยวและส่งเสริมกิจกรรมที่สามารถดึงดูดด้านการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม โดยสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมจากประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออย่างครบวงจร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กชธมน วงศ์คำและคณะ. (2563). รูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนบ้านดอนบม ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

วันวิสาข์พลอย อินสว่างและคณะ. (2563). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยว จังหวัดตรังอย่างมีส่วนร่วม (รายงานวิจัย).มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ศศิพัฒน์ ยอดเพชร และคณะ. (2552). สุขภาวะทางเพศในผู้สูงอายุ. วารสารพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ, 10(2), 1-13.

หนึ่งหทัย ขอผลกลางและคณะ. (2564). แนวทางการพัฒนาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

Christensen, R. & Knezek, G. (2017). Relationship of Middle School Student STEM Interest to Career Intent. Journal of Education in Science Environment and Health, 3(1), 1-13.

Richard, G. & Musters, W. E. (2010). Cultural tourism research method. UK: Cambridge.