การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กานต์พิสุทธิ์ ยุกตานนท์
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

ศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญในการพัฒนา ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาทำวิจัยเพื่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น ตลอดจนหาทางแก้ไขปัญหาการเมืองให้เกิดความสงบสุขเป็นที่ยอมรับและพอใจของประชาชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้รูปการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ และร้อยละ ของผู้ตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์โดยการนำเสนอเป็นตารางใช้สถิติค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับ ประกอบการอภิปรายผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดยคัดเลือกและจําแนกข้อมูล จัดระเบียบข้อมูลให้เป็นระบบ จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล แล้ว นําข้อมูลไปเขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า ระดับการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานครตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.12 S.D.=0.28)


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวแปรต้น โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.07 S.D.=0.39)


แนวทางการพัฒนาควรมีการปฏิบัติหน้าที่อย่างชอบธรรมและมีการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม สร้างแบบอย่างที่ดี มุ่งมั่น อุทิศตน เสียสละปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต รวมถึงควรศึกษาการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยการมีส่วนร่วมของภาคส่วนที่หลากหลายและชุมชน เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงเป็นรูปแบบการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างมีประสิทธิผล และ หลังจากที่ได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ควรจะเพิ่มเนื้อหาสาระเกี่ยวกับบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อนำมาวิเคราะห์หามาตรการแก้ไขได้อย่างลึกซึ้งอย่างและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณัฐสุดา เวียงอำพลและคณะ. (2558). สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของไทยกับแนวคิดความเป็นตัวแทนระดับชาติ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 13(3), 59-82.

นพดล พลเสน. (2559). การที่รัฐธรรมนูญกำหนดบังคับให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องสังกัดพรรคการเมืองสอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยหรือไม่. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

บวรศักดิ์ อุวรรโณ และชาญชัย แสวงศักดิ์. (2560). การปฏิรูปการเมืองฝรั่งเศสข้อคิดในการปฏิรูปการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ไพรวัลย์ เคนพรม. (2560). พรรคการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัคนา ถูระบุตรและคณะ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรณีศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. Journal of Nakhonratchasima College, 12(3), 140-149.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2561). พรรคการเมืองอเมริกา. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.