ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของ อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.06 S.D.=0.37) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการรับรู้ในการประเมินนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรค อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.11 S.D.=0.37) ด้านการรับรู้ในการกำหนดนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรค อยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.08 S.D.=0.17) และด้านการรับรู้ในการนำนโยบายการใช้กัญชาในการรักษาโรคไปปฏิบัติ อยู่ในระดับ ปานกลาง
( =3.01 S.D.=0.68) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านบทบาทท้องถิ่น X4 ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ X3 ด้านบทบาทของชุมชน X1 ตัวแปรอิสระทั้ง 3 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.420 0.275 และ 0.040 ตามลำดับ 3) ควรได้รับรู้แนวทางในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับนโยบายพฤติกรรมความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชา กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคจากหน่วยงานการแพทย์ โดยปรับเปลี่ยนความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชามีหน่วยงานในสังกัดประชาสัมพันธ์ในการรักษาโรคต่างๆ ประชาสัมพันธ์ทางสื่อ นำนโยบายเกี่ยวกับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคภาคีเครือข่ายนำไปปฏิบัติ มีการบริการข่าวสารประชาสัมพันธ์การดำเนินการและบูรณาการระบบฐานข้อมูล และภาครัฐควรมีการส่งเสริมสนับสนุนเจ้าหน้าที่จัดทำโครงการ โดยให้ท้องถิ่นเจ้าหน้าที่ หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชน มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการขับเคลื่อนนโยบาย การประเมินผลและพัฒนากลไก จัดเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนตามขั้นตอนโดยละเอียด และผ่านการตรวจอนุมัติในการติดตามประเมินผลและประมวลผลการปฏิบัติงานชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา, 12.
ณปภัช จินตภาภูธนสิรและคณะ. (2563). ความรู้ความเข้าใจและทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเป็นผู้ประกอบการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ดลมนัส กาเจ. (2562). เกษตรกรได้ฤกษ์ ปลูก“กัญชา” ต้นแรกลงดินอย่างถูกกฎหมายแล้ว. https://kasettumkin.com.
ปรีดาภรณ์ สายจันเกตและคณะ. (2563). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับการใช้กัญชาในการรักษาโรคของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 18(3), 595-603.
พีร์ พวงมะลิต. (2561). ทัศนคติและการรับรู้ของประชาชนต่อกฎหมายเกี่ยวกับการปล่อยโคมลอย. งานวิจัยมหาวิทยลัยสวนดุสิต.
เพ็ญพักตร์ พรายคง. (2560). ความรู้และทัศนคติของประชาชนท้องถิ่นที่มีต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษในอำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด. ภาคนิพนธ์. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์. (2563). กรณีศึกษานโยบายกัญชาทางการแพทย์: สถานการณ์ผลกระทบแนวทางจัดการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับประเทศไทย. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ระพีพงศ์ สุพรรณไชยมาตย์และคณะ. (2561). ประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กัญชาในทางการแพทย์และการเปิดเสรีการใช้กัญชา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(1), 71-94.
อิสรภาพ มาเรือน และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรู้และความตระหนักของผู้สูงอายุต่อผลกระทบของการใช้สารเสพติดประเภทกัญชาโดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเชิงพื้นที่ตำบลสถาน อำเภอปัว จังหวัดน่าน. แผนงานศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด(ศศก.) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.