การจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

ดนุพล ลิ่มสกุล
ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาในการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาหาแนวทางในการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการในเขตพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม ที่สร้างขึ้นโดยการศึกษาเอกสาร ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้ครอบคลุมเนื้อหาและวัตถุประสงค์ในการศึกษาตามกรอบแนวคิดของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม โดยนำตัวแปรที่วิเคราะห์ได้ทางสถิติไปสร้างแบบสอบถามสำหรับเก็บรวบรวมข้อมูลกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึกแล้วนำมาสังเคราะห์สร้างเป็นการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี


ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวแปรต้น โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.06 S.D.=0.93)


แนวทางในการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า อยู่ในระดับ ปานกลาง (gif.latex?\bar{x}=3.09 S.D.=0.86)


ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรการจัดการพัฒนาโซล่าเซลล์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ด้านความรวดเร็ว X3 ด้านวิธีปฏิบัติงาน X4 ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวมีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ 0.276 และ 0.821 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณนน กนกวรพรรณ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจติดตั้งโซลาร์เซลล์ และโซลาร์รูฟท็อปของผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยในเขตนครหลวง (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธนณชัย ลีลารุจิ. (2562). การทำนายความผันผวนของปริมาณความเข้มแสงอาทิตย์ในระยะสั้น โดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพท้องฟ้า (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2562). พุทธจริยศาสตร์: ทางเลือกของการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 624-634.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยพุทธสันติวิธีของศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธัศฐ์ชาพัฒน์ ยุกตานนท์. (2565). การศึกษาเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของการเรียนการสอน แบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์การแพร่ของเชื้อไวรัส COVID-19. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 509-522.

พระวิศิษฏ์ ธมฺมรํสี. (2560). ปัญหา และอุปสรรคในการบำรุงรักษาระบบโซล่าเซลล์ของโรงเรียนใน เขตทุรกันดาร: โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านปิล๊อคคี่ (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิชิต ภาสบุตร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีพลังงานทดแทนโซล่าเซลล์ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะการจัดการ, 6(1), 116-128.

ไพบูลย์ เกียรติสุขคณาธร. (2564). การปรับปรุงประสิทธิภาพในช่วงโหลดน้อยของอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อกริดสาหรับกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

สุรเชษฐ์ มิตสานนท์ และคณะ. (2563). การศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างระบบผลิตไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์แบบทุ่นลอยน้ำ กรณีศึกษา บ้านวังดินสอ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2),81-91.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York: Harper and Row Publications.