แนวทางการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียนของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่ม 1 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

อัญชลี กะการดี
ปรเมศร์ กลิ่นหอม
มิตภาณี พุ่มกล่อม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาค่าระดับการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียน และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียน ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์กลุ่ม 1 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยผสมผสาน ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียนของกระทรวงศึกษาธิการเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่ม 1 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 184 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามกลุ่มของสถานศึกษา และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสนทนากลุ่ม จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77 และ 2) ประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการสรุปการสนทนากลุ่มใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียน ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่ม 1 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด คือ ด้านความสามารถในการสื่อสาร ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหา และด้านความสามารถในการคิด ตามลำดับ 2) แนวทางการส่งเสริมทักษะชีวิตนักเรียน ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ กลุ่ม 1 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ดังนี้ 1) ด้านความสามารถในการสื่อสาร โรงเรียนควรส่งเสริมและให้ความสำคัญด้านการสื่อสาร ฝึกให้นักเรียนมีทักษะการสื่อสารแบบสองทาง จัดการเรียนรู้ควบคู่กันทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้มีการสื่อสารให้ถูกต้องเหมาะสมในฐานะผู้ส่งสารและผู้รับข้อมูลข่าวสาร 2) ด้านความสามารถในการคิด โรงเรียนต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดสร้างสรรค์ ออกแบบกิจกรรมตามความถนัดของนักเรียนให้สามารถออกแบบชิ้นงานด้วยตนเองได้ ผลงานการสร้างสรรค์มีหลากหลาย จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนคิดเชิงบวก ใช้ความรอบรู้ ใช้ความคิดรอบคอบระมัดระวัง 3) ด้านความสามารถในการแก้ปัญหา โรงเรียนควรมีการส่งเสริมการสร้างกระบวนความคิด กระบวนการจัดการเรียนรู้ ความเข้าใจในสถานการณ์ของสังคมที่เกิดขึ้น 4) ด้านความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต โรงเรียน ครูผู้สอน ควรส่งเสริมนักเรียนให้เกิดทักษะความเป็นผู้นำ มีการวิเคราะห์และแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างรอบคอบ เกิดการเรียนรู้ทักษะการทำงานประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน 5) ด้านความสามารถในการใช้เทคโนโลยี โรงเรียนควรมีการส่งเสริมกระบวนการจัดการเรียนรู้โดยเน้นทักษะการใช้เทคโนโลยีเพื่อการสร้างผลผลิตและการขายผลผลิตผ่านสื่อสังคมออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขนิษฐา สุขทวี, วรวุฒิ เพ็งพันธ์, สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ และศุภัครจิรา พรหมสุวิชา. (2563). แนวทางการสร้างเครือข่ายกิจกรรมจิตอาสาที่ส่งเสริมทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดนครนายก. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร, 3(3), 65-77.

ดารารัตน์ ศรีพันธุ์. (2559). แนวทางการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(20), 1-14.

ปนัดดา นกแก้ว. (2562). ทักษะชีวิตและอาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จังหวัดสมุทรปราการ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุตติชน บุญเพศ. (2563). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายการศึกษาอริยมงคล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 8(3), 169-180.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตบูรณาการการเรียนการสอน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดฯ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: ชุมชุนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2553). คู่มือการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ.

สุกัญญา จันทร์ลาวงค์. (2561). แนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Alwadai, M. A. (2023). Perspective Chapter: Preparation for Transformative Work Environment - Faculty Member’s Responsibilities for Promoting Life Skills among Learners at the High Education Institutions. Higher Education - Reflections From the Field, 2023

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.

The Partnership for 21st Century Learning. (2019). Framework for 21st Century learning. Retrieved April 13, 2023, from http://www.battelleforkids.org/networks/p21/frameworks-resources

UNESCO. (2002). Focusing Resources on Effective School Health. Paris: citing.