การแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน กับการพัฒนาศรัทธาตามหลักพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระสุภกิจ สุปญฺโญ
พระ เมธีปริยัติวิบูลย์

บทคัดย่อ

บทความนี้ ต้องการนำเสนอให้เห็นว่า “ศรัทธา” เป็นหลักคำสอนที่มีความสำคัญของพระพุทธศาสนาเป็นหลักความจริงที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ให้คู่กับปัญญา ซึ่งเรียกว่า ศรัทธาเพื่อปัญญา แม้ว่าพระพุทธเจ้าจะทรงสอนให้คนมีศรัทธา แต่ศรัทธาของพระองค์นั้นต้องผ่านการพิจารณาไตร่ตรองด้วยปัญญาให้รอบคอบเสียก่อน สังเวชนียสถาน คือ สถานที่ที่ซึ่งมาแล้วทำให้เกิดการการกระตุ้นเตือนใจสำหรับคนที่มีศรัทธาจะทำให้เกิดการกระตุ้นเตือนจิตใจของตนเอง ทำให้ตื่นมามองดูสิ่งที่ไม่เคยมอง ทำให้นึกได้ถึงสิ่งที่ไม่ได้นึก เพราะผู้ที่มีศรัทธาในปัญญาตรัสรู้ของ พระพุทธเจ้าที่เราเรียกว่าเป็นชาวพุทธนั้น บางครั้งหรือหลายครั้งก็ประมาทไปพระองค์ ทรงแสดงธรรมะ กระตุ้นเตือนจิตใจให้มานึกถึงธรรมะ ให้มานึกถึงความจริง หรือแม้เห็นเหล่าพระอรหันต์ที่ท่านเดินทางจาริก ท่านเหล่านั้นเป็นผู้หมดจดจากกิเลสแล้ว ได้ทำประโยชน์ตนอย่างสูงสุด คุ้มค่ากับการเกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนาแล้ว ก็กระตุ้นเตือนตัวเองว่าควรพัฒนาศรัทธาเพื่อปัญญาให้ดีที่สุด

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จักรแก้ว นามเมือง. (2566). พระพุทธศาสนาที่เน้นการพัฒนาศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/438399X

จันทรัตน์ มั่นวิเชียร. (2560). กระบวนการพัฒนาปัญญาจากการจาริกแสวงบุญ ณ สังเวชนียสถาน 4. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(2), 286-298.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้งที่ 25. นนทบุรี: เพิ่มทรัพย์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). จาริกบุญ จารึกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 42. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นท์ติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 21.กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2556). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ). พิมพ์ครั้งที่ 38. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม (ฉบับปรับขยาย). พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: ผลิธัมม์.

พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ์ วีรยุทฺโธ). (2543). หนังสือสู่แดนพุทธองค์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศิวพร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2556). หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต (พระพุทธศาสนา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อินทิรานี ขันทอง. (2566). การส่งเสริมงานพุทธ ในการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อประโยชน์สุขแก่เพื่อนมนุษย์และสังคม. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2566, จาก https://goodlifeupdate.com/healthy-mind/109760.html