การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาให้ผู้เรียน ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3

Main Article Content

พรสุดา ด้วงสงค์
สาโรจน์ เผ่าวงศากุล

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาให้ผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาให้ผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้กรอบแนวคิดเกี่ยวกับเกี่ยวกับการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 291 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จำแนกตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษาให้ผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านพบว่ามีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษา ด้านการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสร้างสื่อ คลังสื่อ และแหล่งเรียนรู้ดิจิทัล 2. การเปรียบเทียบการสร้างโอกาส ความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางการศึกษา ให้ผู้เรียนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3 จำแนกตามขนาดสถานศึกษา ในภาพรวมและรายด้านไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2563-2565. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทร์จิรา ขานพล. (2566). สมรรถนะดิจิทัลของครูที่ส่งผลต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(1),633-646.

ชินวัตร เจริญนิตย์. (2566). สภาพและปัญหาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 17(2), 98-113.

ณรินทร์ ชำนาญดู. (2557). การบริหารจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียนมัธยมศึกษา. สุทธิปริทัศน์, 28(86), 72-97.

พิชญาภรณ์ จะนันท์. (2565). การพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

พิสุทธิ์ ศรีจันทร์. (2565). การศึกษาสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ทางดิจิทัลเพื่อพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของนักศึกษา กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. วารสารวิทยสารสนเทศและเทคโนโลยี, 3(2), 1-15.

รัตนาวดี เที่ยงตรง. (2565). การศึกษาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 404-418.

วชิราพร สุวรรณศรวล. (2556). รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่สูงภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(พิเศษ),182-192.

วิมัลลี คำนุ. (2558). การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 7(2), 97-121.

วีรภัทร ภักดีพงษ์. (2565). แนวทางการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษายุคดิจิทัล ตามหลักสัปปุริสธรรม 7 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากําแพงเพชร.วารสารวิจยวิชาการ, 5(4), 241-253.

วรวรรณ อินชูและจิติมา วรรณศรี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําดิจิทัลกับการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(6), 300-311.

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกับนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 218-231.

สุภาพร แสงวิชัย. (2560). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 25-34.

สุรัตน์ จันทโช. (2566). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษายุคโลกพลิกผันที่ส่งผลต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนการสอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(6), 117-127.

โสภณ เลียดทอง และจารุวรรณ เขียวน้ำชุม. (2564). สภาพปัจจุบันที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(1), 80-88.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 3. (2565). ข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2566, จาก https://drive.google.com/file/d/1Y2YZjyea6T1 xDa_QTQ5X9noKGiCyjcI/view

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566, จาก https://academic.obec.go.th/images/document/ 1559878925_d_1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่องนโยบายและแนวปฏิบัติการรับนักเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ปีการศึกษา 2566. สืบค้นเมื่อ 23 ธันวาคม 2566, จาก http://www.bopp.go.th/wpcontent/uploads/ 2022/10/ประกาศ-นโยบายการรับนักเรียน-2566-2.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อรวรรณ ป้อมดำ. (2558). การจัดการสารสนเทศ การสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(3), 221-232.

Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Determinining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Shao, Y., Liu, W. & Ji, M. (2019). Education quality in special education transfer payments to low-income groups. Revista de Cercetare si Interventie Sociala, 65, 163-186.