การพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ด้วยการเรียนการสอนแบบไฮบริด ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพการเรียนการสอนแบบไฮบริด วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ที่สร้างขึ้นกับการเรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2565 คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร จำนวน 49 คน โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง จำนวน 21 คน และกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการเรียนการสอนไฮบริด 2 )แผนการเรียนการสอนปกติ 3) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย การหาค่าประสิทธิภาพ, การทดสอบค่าที, ค่าเฉลี่ย และร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การเรียนการสอนแบบไฮบริด รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.15/85.32 2) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการของนักศึกษาที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบไฮบริด กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนิษฐา ศรีภิรมย์ และคณะ. (2563). การจัดทำโพลล์และผลการสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประชาชนในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://register.kpru.ac.th/RajabhatPoll
กฤษณพงศ์ เลิศบำรุงชัย. (2561). การเรียนรู้แบบปรับเปลี่ยนได้ (Hybrid Learning). สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://touchpoint.in.th/hybrid-learning-use
คุรุสภา. (2562). ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). ระบบสื่อการสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2566). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แฝงกมล เพชรเกลี้ยง. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานในยุค New Normal เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุกของนักศึกษาครู. วารสารครุศาสตร์สาร, 14(2), 71-84.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษาสำหรับการปฏิบัติการสอน (รายงานวิจัย). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์ และคณะ. (2555). การพัฒนาระบบการจัดการความรู้เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 14(3), 71-79.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). กรอบสมรรถนะครูไทย พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
Allen, I. E. & Seaman, J. (2007). Online nation: Five years of growth in online learning. America: The Sloan Consortium.
Allen, E. & Seaman, J. (2007). The changing faculty workforce: Understanding the shift from tenure-track to contingent appointments. Barton: The Chronicle.
Dhawan, S. (2020). Online learning: A panacea in the time of COVID-19 crisis. Journal of Educational Technology Systems, 49(1), 5-22.
Garrison, D. R., & Vaughan, N. D. (2008). Blended Learning in Higher Education: Framework, Principles, and Guidelines. San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Schreyer, J. (2015). The impact of student satisfaction on academic motivation and performance. Journal of Educational Psychology, 107(2), 356-369.
Sun, P. & Chen, X. (2016). Online education and its effective practice: A research review. Journal of Information Technology Education: Research, 15, 157-190.
Tinto, V. (1997). Classrooms as communities: Exploring the educational character of student persistence. Journal of Higher Education, 68(6), 599-623.