การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 2) เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะแนวทางของการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ร้อยละ (Percentage) คะแนนเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์เนื้อหาจากผลลัพธ์ดังนี้
1. ระดับการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านชุมชนกัลยาณมิตร (= 4.85, S.D. = 0.33) รองลงมือ คือ ด้านวิสัยทัศน์ร่วมกัน (= 4.75, S.D. = 0.48) ด้านภาวะผู้นำร่วม (= 4.68, S.D. = 0.47) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกัน (= 4.66 , S.D. = 0.48) และ ด้านการร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจในการทำงาน ร่วมกัน (= 4.66 , S.D. = 0.48)
2. ระดับของปัจจัยที่การบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 พบว่า มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.67, S.D. = 0.49) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านบรรยากาศองค์กร (= 4.86, S.D. = 0.35) รองลงมา คือ ด้านวัฒนธรรมองค์กร (= 4.8, S.D. = 0.4) และด้านภาวะผู้นำทางวิชาการ (= 4.59, S.D. = 0.53) ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านโครงสร้างองค์กร (= 4.41, S.D. = 0.53)
3. แนวทางการบริหารจัดการชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนชุมชนบ้านช่างเคิ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างองค์กร โดยการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการขับเคลื่อนการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีการนิเทศ ตรวจ ติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ รวมทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรในโรงเรียน มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งผลประโยชน์และคุณภาพผู้เรียนเป็นสำคัญ 2) ด้านการบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร ได้แก่ การมีโครงสร้าง นโยบาย และแนวทางในการปฏิบัติให้กับครู และบุคลากรที่ชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้ตรวจ ติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ และสนับสนุน ส่งเสริมให้ครู และบุคลากรมีความก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ 3) ด้านครูผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ความเข้าใจ และทักษะ ในการทำชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างถูกต้อง เป็นระบบ ระเบียบ แบบแผน โดยรับการฝึกฝนอบรมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำชุมชนแห่งการเรียนรู้ มีความมุ่งมั่งตั้งใจในการพัฒนานักเรียน โดยการนำชุมชนแห่งการเรียนรู้มาใช้ในการทำงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกันและกัน และมีการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอยู่เสมอ โดยเกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน การแบ่งปันเทคนิคและวิธีการจัดการเรียนการสอน การช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างครูผู้สอน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). นโยบายและจุดเน้นกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบระมาณ พ.ศ. 2566. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2667, จาก https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-2023/
กันต์ธร หิรัญลักษณ์. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกศกาญจน์ ทองจันทร์แก้ว และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาสหวิทยาเขตนครหาดใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขา สตูล. การประชุมหาใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 13 (น. 2486-2503). มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ขวัญพิชชา มีแก้ว. (2562). การบริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ณัฐฐินันท์ โยมงาม และอุไร สุทธิแย้ม. (2565). บทบาทการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของผู้บริหารสถานศึกษา ตามการรับรู้ของครู กลุ่มโณงเรียนสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 364-376.
นิภาธร มุลกุณี. (2561). การพัฒนาทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กรุงเทพมหานคร ในยุคไทยแลนด์ 4.0 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บรรจง ลาวะลี. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคไร้พรมแดน. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 6(2), 208-210.
ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561 – 2580. (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนที่ 82 ก, หน้า 1.
ปาริชาติ สีพันธ์บุญ. (2564). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ไพผกา ผิวดำ. (2564) .ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2560). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: แนวทางปฏิบัติสำหรับครู. วารสารวิชาการ มทร.สุวรรณภูมิ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 2 (2), 214-228.
รักข์วลัย แย้มกสิกร. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร กรณีศึกษา บริษัทร้านอาหารและเครื่องดื่มแห่งหนึ่ง (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
ริญญาภัทร์ สุภาศิริธนานนท์ และศักดิ์พันธ์ ตันวิมลรัตน์. (2563). บทบาผู้บริหารกับบรรยากาศองค์กรของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ วิทยาลัยแสงธรรม, 13(2), 208-227.
วาสนา ทองทวียิ่งยศ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญญบุรี.
วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวา. (2563). แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดีกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 30(2), 60-63.
สมพิศ โห้งาม. (2553). การบริหารสถานศึกษาและการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาบริหารการสึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สฤษดิ์ วิวาสุขุ (2562). รายงานการประเมินโครงการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. สุรินทร์: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551) . กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุนันท์ รุ่งอรุณแสงทอง. (2561). การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดประสิทธิภาพ. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 934-944.
เสาวคนธ์ ฉัตรวิไล. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
หนึ่งฤทัย สีหะวงษ์. (2562). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.
อภิสิทธิ์ อุคำ. (2563). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้วิชาชีพของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
Hord, S. (1997). Professional Learning Communities: What Are They and Why Are They Important?. Issues about Change, 6, 23-45.
Morrissey, M. S. (2000). Professional Learning Communities: An Ongoing Exploration. Texas: Southeast Educational Development Laboratory.
Hoy, W.K and Miskel, C. G. (2013). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. (9th ed.). New York: McGraw-Hill.