แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้า ระหว่างเถรวาทกับมหายาน ที่ปรากฏในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร

Main Article Content

พระมหาโกมล กมโล

บทคัดย่อ

แนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าระหว่างเถรวาทกับมหายานที่ปรากฏในสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าของฝ่ายเถรวาทเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้าของฝ่ายมหายานตามที่ปรากฏในสัทธรรมปุณฑริกสูตร 


คำว่า “พระพุทธเจ้า” ตรงกันทั้งเถรวาทและมหายาน คือหมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พระพุทธเจ้าของเถรวาทเป็นมนุษย์ ส่วนของมหายาน หมายรวมไปถึงความมีอยู่แห่งอาทิพุทธ และ ธยานิพุทธด้วย พระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้าของฝ่ายมหายานมีมากมายเหลือคณานับ แม้พระโพธิสัตว์ที่มุ่งพระโพธิญาณก็ดำเนินชีวิตแตกต่างกัน ฝ่ายเถรวาทต้องบำเพ็ญพุทธการกธรรมหรือทศบารมี ต้องได้รับการพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต แต่ฝ่ายมหายานเน้นพระมหากรุณา คือช่วยเหลือสัตว์โลกจนกว่าคนอื่นจะได้ตรัสรู้ตนเองจึงจะเป็นคนสุดท้าย ดังนั้นจึงเพิ่มประณิธาน 4 และโพธิสัตวศีลเข้ามาด้วย


ในด้านการตรัสรู้ พระมานุษีพุทธตรัสรู้ในรูปแบบเดียวกันทั้งเถรวาทและมหายาน แต่พระอาทิพุทธและพระธยานิพุทธอุบัติและตรัสรู้ ณ พุทธเกษตรบนสรวงสวรรค์ การบำเพ็ญพุทธกิจจึงแตกต่างกัน คือพระมานุษีพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธจริยา 3 ได้แก่ โลกัตถจริยา ญาตัตถจริยา และพุทธัตถจริยา และทรงบำเพ็ญพุทธกิจประจำวันถึง 5 เวลาด้วย ส่วนพระอาทิพุทธและพระธยานิพุทธตรัสรู้และทรงแสดงพระธรรมเทศนาบนพุทธเกษตรสรวงสวรรค์ไม่ขาดสาย ในฝ่ายเถรวาทผู้สดับเป็นพุทธบริษัท 4 อาจมีเหล่าเทวดาในเวลากลางคืนเป็นครั้งคราว แต่ในฝ่ายมหายานผู้สดับเป็นเทพและพรหมตลอดจนพระโพธิสัตว์ในหมื่นจักรวาลนับไม่ถ้วนนอกเหนือไปจากพุทธบริษัท 4

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมศิลปากร. ชินมหานิทาน. ทรงวิทย์ แก้วศรี บรรณาธิการ. หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร จัดพิมพ์เฉลิมพระเกียรติในงานมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช 5 ธันวาคม 2530. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลสหประชาพาณิชย์, 2530.
. นิบาตชาดก. คณะกรรมการอำนวยการจัดการสิริราชสมบัติครบ 50 ปี จัดพิมพ์เป็นระลึกในงานมงคลสมัยเฉลองสิริราชสมบัติ50 ปี พุทธศักราช 2535. กรุงเทพมหานคร : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2540.
. ปัญญาสชาดก เล่ม 1-2. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมสิทธาจารย์ (หนู ถาวโร ป.ธ. 5) ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่ 20 ธันวาคม 2552. กรุงเทพมหานคร : อาทรการพิมพ์, 2552.
คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย. พจนานุกรมพุทธศาสนาจีน-สันสกฤต-อังกฤษ-ไทย.กรุงเทพมหานคร : ชาญพัฒนาการพิมพ์, 2519.
. สัทธรรมปุณฑรีกสูตร. แปลจากต้นฉบับภาษาสันสกฤตโดย ชะเอม แก้วคล้าย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชซิ่ง จำกัด, 2547.
จันทบุรีนฤนาถ, พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ. ปทานุกรมบาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต. กรุงเทพมหานคร : ศิวพร, 2513.
ทรงวิทย์ แก้วศรี. “การศึกษาวิเคราะห์ยุทธวิธีในการประกาศศาสนาของพระพุทธเจ้า”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550.
. พุทธสถานในนานาประเทศ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมพุทธศาสน์, 2520.
นวลวรรณ พูนวสุพลฉัตร. “การศึกษาพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอันเนื่องด้วยการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
นาคะประทีป [พระสารประเสริฐ]. สัมภารวิบาก (ชื่อรอง กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้า). พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร, 2552.
ป. หลงสมบุญ. พจนานุกรมบาลี-ไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2519.
พระกวีวงศ์ (อิ่ม สารโท). “ธรรมสมังคีของทศบารมีเป็นปัจจัยเกื้อหนุนในการตรัสรู้และบำเพ็ญพุทธกิจของพระพุทธเจ้า”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
. “บูรณาการพระพุทธคุณ 9 กับภาวะผู้นำ”. สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). คำวัด. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง, 2548.
พระธรรมโกศาจารย์ (ชอบ อนุจารีเถระ). ปริทรรศน์เวสสันดรชาดก. ทรงวิทย์ แก้วศรี บรรณาธิการ. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระราชธรรมภาณี (เอิบ ิตปญฺโ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดปราจีนบุรี วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์อมรินทร์, 2528.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร : บริษัท อาร์.เอส.พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด, 2553.
พระพุทธโฆสาจารย์. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร) แปลและเรียบเรียง. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัทธนาเพรสจำกัด, 2554.
พระมหาจู่ล้อม ชูเลื่อน.“ความกล้าหาญทางจริยธรรมในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ในทศชาติชาดก”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหิดล, 2546.
พระมหาพิทักษ์ สุเมโธ (ทองเหลือง). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์สุวรรณสามชาดก”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2549.
พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญฺ.พระพุทธศาสนามหายานในอินเดีย : พัฒนาการและสารัตถธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2543.
พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2528.
พระโสภณคณาภรณ์ (ระแบบ ิตาโณ). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2529.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.45 เล่ม.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ, 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
. อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2551.
. อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ วิญญาณ, 2532.
มหามกุฏราชวิทยาลัย. พุทธศาสนประวัติ 2500 ปี แล้ว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สุรวัฒน, 2537.
วัดโพธิ์แมนคุณาราม. สารัตถธรรมมหายาน. กรุงเทพมหานคร : คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย, 2513.
ส. ศิวลักษณ์. ความเข้าใจในเรื่องมหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ส่องสยาม, 2545.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท.กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2543.
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชิรญาณวงศ์. ธรรมานุกรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, 2525.
สัทธรรมปุณฑริกสูตร. แปลจากฉบับภาษาอังกฤษของ Burton Watson ซึ่งถ่ายทอดจากฉบับภาษาจีนอีกทอดหนึ่ง ฉบับภาษาไทยโดยสมาคมสร้างคุณค่าในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุภา, 2542.
สัทธรรมปุณฑรีกสูตร. แปลจากฉบับภาษาสันสกฤต โดยชะเอม แก้วคล้าย. กรุงเทพมหานคร : คณะสงฆ์จีนนิกายแห่งประเทศไทย, 2547.
สำเนียง เลื่อมใส, รศ.ดร. มหาวัสตุอวทาน. เล่ม 1-2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสันสกฤตศึกษา, 2553-2557.
เสฐียร พันธรังษี, พระพุทธศาสนามหายาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สุขภาพใจ, 2543.
. ศาสตราจารย์พิเศษ. พุทธประวัติฉบับค้นพบใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ศยาม, 2542.
. ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2534.
. ศาสนาใหม่ในญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2547.
เสฐียรโกเศศและนาคะประทีป [พระอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) และพระสารประเสริฐ (ตรีนาคะประทีป]. ลัทธิของเพื่อน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พิราบ, 2537.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก, ศาสตราจารย์พิเศษ. พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และแดนสุขาวดีในความหมายของมหายาน ในราชบัณฑิตยสถาน, 70 ปี ราชบัณฑิตวิชาการ. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์, 2547.
เสถียร โพธินันทะ. ชุมนุมพระสูตรมหายาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2516.
. ปรัชญามหายาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2512.
. ภูมิประวัติพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2515.
อภิชัย โพธิ์ประสิทธิ์ศาสต์. พระพุทธศาสนามหายาน.กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.