ทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผู้ชมมวยไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดของสนามมวยราชดำเนิน
คำสำคัญ:
นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ, มวยไทยบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารและเหตุผลในการตัดสินใจดูมวยไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผู้ชมมวยไทย 2) เพื่อศึกษาทัศนคติของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติผู้ชมมวยไทยต่อส่วนประสมทางการตลาดของสนามมวยราชดำเนิน ขนาดตัวอย่าง จำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาชมมวยไทยในสนามมวยราชดำเนินปี พ.ศ. 2559 เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ด้านช่องทางในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมวยไทย ส่วนใหญ่ได้รับจากโซเชียลมีเดีย ได้แก่ เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม และไลน์ (ค่าเฉลี่ย =3.87) รองมาเป็นอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ (ค่าเฉลี่ย =3.65) น้อยที่สุดคือวิทยุ (ค่าเฉลี่ย =1.82) ด้านเหตุผลในการตัดสินใจมาชมมวยไทย ได้แก่ มวยไทยเป็นศิลปะการป้องกันตัว (ค่าเฉลี่ย =3.87) มวยไทยเป็นกีฬาที่ดีต่อการออกกำลังกายและทำให้ร่างกายแข็งแรง (ค่าเฉลี่ย =3.74) มวยไทยเป็นกีฬาสร้างความบันเทิง (ค่าเฉลี่ย =3.74) และน้อยที่สุดคือต้องการหาพรสวรรค์ในการต่อสู้เพื่อไปใช้ในต่างประเทศ (ค่าเฉลี่ย =2.81) ด้านทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าด้านบุคลากรมีอัธยาศัยดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ (ค่าเฉลี่ย =3.81) รองลงมาคือด้านกายภาพความสะอาดของพื้นที่บริเวณเวที (ค่าเฉลี่ย =3.78) ที่นั่งชมมีความเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย =3.78) และน้อยที่สุดคือการประชาสัมพันธ์บนโบรชัวร์ (ค่าเฉลี่ย =3.42) ด้านช่องทางการรับข้อมูลข่าวสารมวยไทย ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการประชาสัมพันธ์ทางอินเตอร์เน็ต เว็บไซต์มากที่สุด (ร้อยละ 70) รองลงมาเป็นโซเชียลมีเดีย (ร้อยละ 45) จากการสัมภาษณ์ พบว่า ส่วนใหญ่รู้สึกอยากกลับมาชมมวยไทยอีกครั้ง รู้สึกรักมวยไทย มวยไทยเป็นกีฬาที่มีความตื่นเต้นและมีความโดดเด่นแตกต่างจากศิลปะการต่อสู้ของประเทศอื่น
References
กรรณิการ์ คชาชื่น และคณะ. (2552). แนวทางการพัฒนาโรงเรียนสอนมวยไทยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เกศินี ประทุมมณี. (2552). ปัจจัยส่วนผสมตลาดบริการมีผลต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเข้าชมการแข่งขันกีฬามวยไทย ในอำเภอเมืองเชียงใหม่. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
คึกเดช กันตามระ. (2553). แม่ไม้มวยไทย ศิลปะป้องกันตัวฉบับสองภาษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนิษฐา เศวตศิลา (2559). ทิศทางการดำเนินงานด้านการตลาดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก http://www.source.,new center, เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559.
เตชิตา ไชยอ่อน. (2558). ความคาดหวังของลูกค้าชาวต่างชาติที่มีต่อคุณภาพการให้บริการของค่ายมวยไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สัญญา รัตนไพวงค์. (2549). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการชมกีฬามวยไทย. ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพลศึกษา. นครปฐม: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
สุชาติ อิทธิวรรณพงศ์. (2551). ภาพลักษณ์ของมวยไทยในสายตาชาวต่างชาติและกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของค่ายมวยไทย. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์สารสนเทศ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
Fayossy. (2559). 8 เคล็ดลับ กลยุทธ์การตลาดแบบ 360 องศา. สืบค้นจาก http://www.marketingoops.com/exclusive/how-to/how-to360-marketing-strategy/ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559.
Scopus Preview. (2014). Muay Thai : Inventing Tradition for a national Symbol. Volume 29, Issue 3, November 2014, Pages 509-553.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.