กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • อนงค์นาถ เหลืองศิริเจริญ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • พุฒิธร จิรายุส คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, การตัดสินใจ, บัตร Wisdom, ธนาคารกสิกรไทย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานครและ 3) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บัตร The Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ประชากรศาสตร์ของเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบความแตกต่าง T-test  สถิติทดสอบความแปรปรวน (One way ANOVA) และสถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติไคว์สแควร์ (Chi-Square)   

ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย  อายุ ตั้งแต่ 36  ปีขึ้นไป สถานภาพโสด รายได้ต่อเดือนมากกว่า 35,001 บาท  ระดับการศึกษาปริญญาตรี ส่วนใหญ่ธุรกิจส่วนตัว / อิสระ  ผลลัทธ์การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) มีผลต่อการตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร  ซึ่งมีผลลัทธ์ที่ได้จากปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7Ps อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านลักษณะทางกายภาพ (3.89) ด้านกระบวนการบริการ (3.80) ด้านการจัดหน่าย (3.78) ด้านบุคลากร (3.67) ด้านส่งเสริมการตลาด (3.64) และด้านผลิตภัณฑ์ (3.54) มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้บัตร Wisdom ธนาคารกสิกรไทยในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546) การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสาหรับการบริหารและวิจัย. กรุงเทพฯ : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วุฒิชัย จำนง. (2543). พฤติกรรมการตัดสินใจ. กรุงเทพฯ : โอเดี่ยนสโตร์.

สิรฎา เกตุเอี่ยม. (2545). ปัจจัยการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเลือกชมภาพยนตร์ไทย นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทร วงศ์ไวศยวรรณ. (2548). การตัดสินใจและการสื่อสาร.ในเอกสารการสอนชุดวิชาพฤติกรรมและการจัดการตลาด(หน่วยที่3). นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทันธรรมาธิราช.

เสรี วงษ์มณฑา. (2553). ส่วนประสมทางการตลาด. กรุงเทพฯ : โอเดี่ยนสโตร์.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Berger, A. N., & Udell, G. F. (1995). Relationship lending and lines of credit in small firm finance. Journal of Business, 68(3), 351-382.

Kotler, Philip. (2000). Marketing Management. The Millennium ed. United State ofAmerica: Prentice Hall International Inc.

Wikipedia free encyclonepedia, (2007b) Money supply 2007.[Accessed 5 February, 2005] website; http://en.wikipedia.org/wiki /Money_supply.

Porter, M. E. 1998). The competitive advantage of nations. New York: The Free Press.

Yamane, Taro. 1973. Statistics an introductory analysis. (3rd ed.). New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-01