นาฏยประดิษฐ์ : ระบำวานรเตียวเพชรนาฏยประดิษฐ์ : ระบำวานรเตียวเพชร

ผู้แต่ง

  • ดร. สมชาย ฟ้อนรำดี วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

นาฏยประดิษฐ์, วานรเตียวเพชร, ระบำ

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ : ระบำวานรเตียวเพชรมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา สี และลักษณะหัวโขน บทบาทของวานรเตียวเพชรตัวที่ปรากฏในวรรณกรรมเรื่องรามเกียรติ์และศิลปะการแสดงโขน เพื่อพัฒนางานสร้างสรรค์ชุดระบำวานรเตียวเพชรให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการแสดงนาฏศิลป์ไทย โดยใช้วิธีศึกษาข้อมูลจากตำรา เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ ลงภาคสนาม ดำเนินการ วิพากษ์และนำข้อมูลจากศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ไทยและดนตรีไทย มาปรับปรุงแก้ไขท่ารำและการแสดงให้สมบูรณ์ตามคำแนะนำและข้อเสนอแนะ จากการศึกษาพบว่า วานรเตียวเพชรมีทั้งหมด 9 ตัว ลักษณะหัวโขนเป็นลิงโล้น ปากหุบ และสวมผ้าทองตะบิดเกลียว ซึ่งเป็นตัวละครที่ปรากฏชื่อและมีบทบาทในบทละครเรื่องรามเกียรติ์อย่างมาก แต่ในปัจจุบันไม่ค่อยนำตัวละครเหล่านี้มาใช้แสดงโขนบนเวที หรือใน  ที่ต่าง ๆ ระบำวานรเตียวเพชรได้นำกระบวนท่ารำที่อยู่ในแม่ท่าโขนลิง โดยมีแม่ท่าในครึ่ง ท่าหลังนำมาเรียงร้อยท่ารำ ท่ากราววีระชัยสิบแปดมงกุฎ ท่ารำตามธรรมชาติ ท่ารำตาม บทร้อง ท่ารำหน้าพาทย์เพลงเสมอข้ามสมุทร รวมทั้งการแสดงตีลังกาโลดโผน แล้วนำมาออกแบบสร้างสรรค์การแสดงชุดระบำวานรเตียวเพชรแสดงในโอกาสต่าง ๆ เวลาการแสดงประมาณ 8.30 นาที การแสดงแบ่งออกเป็น 1) ออกตามจังหวะตะโพน 2) รำและตีบทตามคำร้องเพลงกระบี่ลีลามีการตั้งซุ้ม 3) ออกรำ ตีบท และเต้นตามบทร้องเพลงสารถีชั้นเดียว ทีละตัว 4) รำและเต้นตามจังหวะเพลงเตียวเพชรคลาไคล 5) เต้นรับในเพลงข่า แสดงออกถึงความสนุกสนาน น่ารัก แสดงให้เห็นถึงความสามารถและความเก่งกล้าของวานรเตียวเพชร

References

กรมศิลปากร. (2556). โขน : อัจฉริยนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง บจก. (มหาชน).

กิฟลี วรรณจิยี. (2535). การเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเขียนบทร้อยกรองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกการเขียนสร้างสรรค์กับการใช้แบบฝึกแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ (นาฏศิลป์สร้างสรรค์). กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.

ประพันธ์ สุคนธชาติ. (2534). หัวโขนพงศ์ในเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

ศรีวิไล ดอกจันทร์. (2529). ภาษาและการสอน. กรุงเทพฯ: สุกัญญา.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิวัฒน์ สุขประเสริฐ. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง). สัมภาษณ์, 20 กันยายน 2562.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนยักษ์). สัมภาษณ์, 20 กันยายน 2562.

ประสิทธิ์ ปิ่นแก้ว. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย). สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2561 และ 18 ตุลาคม 2561.

วิโรจน์ อยู่สวัสดิ์. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง). สัมภาษณ์, 11 กรกฎาคม 2561.

สราชัย ทรัพย์แสนดี. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง). สัมภาษณ์, 20 กันยายน 2562.

สุรัตน์ เอี่ยมสอาด. ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย (โขนลิง) กรมศิลปากร. สัมภาษณ์, 20 กันยายน 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01