การศึกษาสภาพการดำเนินการและแนวทางการบูรณาการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน ของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ผู้แต่ง

  • กวิตาภัทร มงคลนำ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สำนักงานอธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

งานวิจัย, งานสร้างสรรค์, การบูรณาการ, ศิลปวัฒนธรรม, การเรียนการสอน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาการดำเนินการงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และการจัดการเรียนการสอนของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) ศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการบูรณาการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร หัวหน้าภาควิชา ครู และอาจารย์ผู้สอน จำนวน 164 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยการหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บริหาร และหัวหน้าภาควิชา ผลการศึกษา พบว่า สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ดำเนินการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมสอดคล้องกับปรัชญาของสถานศึกษาที่ระบุว่า “เป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปะที่มุ่งสร้างสรรค์ศาสตร์แห่งศิลป์ ผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางศิลปะควบคู่คุณธรรมเพื่อผดุงรักษาและสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ” จัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยยึดมั่นปรัชญาของแต่ละหลักสูตร ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม สนับสนุนการดำเนินงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ จัดสรรทุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ครอบคลุมกลุ่มการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการบูรณาการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านศิลปวัฒนธรรมกับการจัดการเรียนการสอนของสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 4 แนวทาง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ดังนี้ 1) กำหนดให้นักศึกษาศึกษางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์เพื่อเรียนรู้กระบวนการ 2) นำผลการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ไปใช้ในการประกอบการสอน 3) นำนักศึกษาเข้าฟังการรายงานผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์และนักวิจัยรับเชิญหรือเข้าร่วมประชุมการเสนอผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ระดับชาติหรือนานาชาติ และ 4) นำนักศึกษาร่วมเป็นส่วนหนึ่งในทีมวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ของอาจารย์ ส่วนแนวทางการวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานในบริบทของสังคมปัจจุบันอย่างสอดคล้องกับปรัชญาของสถาบัน พบว่า มี 3 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่ 1) การอนุรักษ์ยึดถือแนวปฏิบัติขนบธรรมเนียมตามประเพณีอันดีงาม 2) การผสมระหว่างความเก่ากับความใหม่ และ 3) การเปิดอาณาจักรจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางศิลปะ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_________. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ.

ชนม์ณภัทร เจริญราช, วณิฎา ศิริวรสกุล, และชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559). “การบูรณาการวิจัยกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร”. วารสารวไลย-อลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 6, 1: 25-38.

ธงชัย ยืนยงคีรีมาศ. (2557). คู่มือการบูรณาการพันธกิจ ปีการศึกษา 2557. เชียงใหม่ : วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิภา กู้พงษ์ศักดิ์. (2556). “การบูรณาการความรู้ทักษะการใช้ภาษาไทย การเสริมสร้างคุณธรรมและความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อ DVD”. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 15, 1: 77-86.

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และรัชนี สรรเสริญ. (2555). “การบูรณาการ : กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา”. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5, 2: 2-13.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 74ก ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.

พระราชบัญญัติสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนที่ 57ก ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2559.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). คู่มือปฏิบัติงานการบูรณาการพันธกิจ. พระนครศรีอยุธยา : ผู้แต่ง.

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2561). แนวปฏิบัติที่ดีด้านการบูรณาการงานวิจัยเข้ากับการเรียนการสอนหรือการบริการวิชาการ/วิชาชีพ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2561 เข้าถึงจาก http://web.chandra.ac.th/blog/wp-content/uploads/2012/08/แนวปฏิบัติด้านการบูรณาการ.pdf

รอซีกีน สาเร๊ะ และคณะ. (2560). “การบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 4, 3: 151-159.

วิฑูรย์ วีรศิลป์. (2555). การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแบบบูรณาการรายวิชาความจริงของชีวิต. สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2560). แผนพัฒนาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2560-2564 (ประจำปีงบประมาณ 2562). นครปฐม : ผู้แต่ง.

_________. (2561). รายงานการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา. นครปฐม : ผู้แต่ง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2557). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) ระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

Burke-Smalley L. A., Rau B. L., Neely A. R., & Evans W. R. (2017). “Factors perpetuating the research-teaching gap in management: A review and propositions”. The International Journal of Management Education, 15(2017): 501-512.

Healey M. (2005). “Linking Research and Teaching to Benefit Student Learning”. Journal of Geography in Higher Education, 29, 2: 183–201.

Jenkins A. (2019). Curricula and Departmental Strategies to Link Teaching and Geoscience Research. [online]. Retrieved 10 January 2019. From http://link.springer.com/chapter/10.1007/978-94-007-6946-5_6#page-1

จุลชาติ อรัณยะนาค, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. รองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 19 พฤศจิกายน 2562.

ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์, ศาสตรเมธี. ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2563.

นิตยา รู้สมัย, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. หัวหน้าภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 21 มกราคม 2563.

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์, รองศาสตราจารย์. ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 29 มกราคม 2563.

ศุภชัย สุกขีโชติ, รองศาสตราจารย์. ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2563.

ศักดิ์ชาย บุญอินทร์. หัวหน้าภาควิชาศิลปะสากล วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 23 มกราคม 2563.

สุพรรณี เหลือบุญชู, รองศาสตราจารย์. ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ปรึกษาโครงการบัณฑิตศึกษา. สัมภาษณ์, 29 มกราคม 2563.

อุษาภรณ์ บุญเรือง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. อาจารย์ประจำคณะศิลปศึกษา อดีตรองอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 19 พฤศจิกายน 2562.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01