การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ (PIIACR)

ผู้แต่ง

  • กุลรดา พุทธผล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง (อำนาจคณูปถัมภ์)

คำสำคัญ:

ความคิดสร้างสรรค์, การสอนรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ (PIIACR)

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ผ่านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ (PIIACR)” มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ดำเนินการวิจัยในช่วงกรกฎาคม - กันยายน 2562 เนื้อหาที่ใช้ในการพัฒนาแนวทางการประเมินทักษะความคิดสร้างสรรค์ผ่านการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์ (PIIACR) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วยแผนการเรียนรู้ จำนวน 8 ชั่วโมง โดยมีเครื่องมือในการวัดและประเมินผล คือ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์ แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชุดและอุปกรณ์การแสดง และแบบประเมินการปฏิบัติท่ารำนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่ทำการประเมินโดยตนเอง เพื่อนร่วมชั้นเรียน และครูผู้สอน ซึ่งจากผลการวิจัยได้ข้อสรุปว่า ค่าพัฒนาสัมพัทธ์ของนักเรียนจากแบบประเมินการสร้างสรรค์กิจกรรมการแสดงและแบบการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางนาฏศิลป์พบว่า นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ในขณะที่การวัดคะแนนเทียบกับเกณฑ์ โดยใช้แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบการแต่งกายและอุปกรณ์การแสดง พบว่า นักเรียนมีระดับความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับดีขึ้นไปคิดเป็นร้อยละ 90.32

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562. เข้าถึงจาก https://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=38880&Key=news_research.

ฉวีวรรณ ตาลสุก. (2556). การพัฒนาหลักสูตรนาฏศิลป์สร้างสรรค์ตามแนวทางการจัดการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธเนศ รัตนกุล. (2562). อยากให้เด็กคิดอย่างสร้างสรรค์? ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็นก่อน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562. เข้าถึงจาก https://thematter.co/science-tech/create-creativity-for-kids/77730

นัจกร ผู้ทรงธรรม. (2560). “การใช้นาฏยประดิษฐ์ ชุดพฤกษศาสตร์โรงเรียน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเยาวชน กรณีศึกษาโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา, 9, 3(กรกฎาคม 2560).

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้”. สระแก้ว : คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สยามรัฐออนไลน์. (2560). หยุดสาดสีใส่เด็ก สะท้อนปัญหาการศึกษาไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 กันยายน 2562. เข้าถึงจาก https://siamrath.co.th/n/16989.

Guilford, J., P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.

Kemmis, S., McTaggart, R., & Nixon, R. (2013). The Action Research Planner Doing Critical Participatory Action Research. Singapore: Springer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-01