การศึกษาอัตลักษณ์ทางศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นในเขตพื้นที่การท่องเที่ยวอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย สู่การออกแบบสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชน

ผู้แต่ง

  • รศ. ไทยโรจน์ พวงมณี สาขาวิชาทัศนศิลป์ ภาควิชามนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของศิลปะและวัฒนธรรมอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย 2) ศึกษากระบวนการออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนจากแนวคิดศิลปะและวัฒนธรรมพื้นที่การท่องเที่ยวเมืองเชียงคาน จังหวัดเลย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย การสัมภาษณ์ แบบบันทึกข้อมูล แบบประเมินผลการออกแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอข้อมูลด้วย การพรรณนาเชิงวิเคราะห์ประกอบภาพถ่าย ผลการศึกษาพบว่า

          1) ศิลปะและวัฒนธรรมของอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลยสร้างขึ้นบนฐานของการดำเนินชีวิตของผู้คนที่เดินทางเข้ามาตั้งหลักแหล่งในพื้นที่เชียงคาน ศิลปวัฒนธรรมที่แสดงอัตลักษณ์เฉพาะประกอบด้วยวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ไทดำจากเครื่องแต่งกาย สถาปัตยกรรมบ้านไม้ เรือนเฟื้ยม ประเพณีแซปาง ต้นปาง การละเล่นผีขนน้ำ

          2) การออกแบบผลิตภัณฑ์จะอยู่บนฐานคิดของการค้นหาอัตลักษณ์เฉพาะ โดยมีกระบวนการสร้างสรรค์ดังนี้ 2.1) การค้นหาแนวคิด 2.2) การวิเคราะห์แนวคิด 2.3) การตี ความหมาย 2.4) การออกแบบร่าง 2.5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา 2.6) การพัฒนาแบบร่าง 2.7) การดำเนินการสร้างสรรค์ 2.8) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการประเมินผลงาน

References

เกษม กุณาศรี และคณะ. (2560). “การเลือกอัตลักษณ์ท้องถิ่นสำหรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน: กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจบ้านห้วยชุมพู”. วารสารวิจัยและพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 10, 4: 86-97.

เครือจิต ศรีบุญนาค. (2550). ดนตรีในพิธีกรรมชนเผ่าดั้งเดิมสายตระกูลมอญ-เขมร. สุรินทร์: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ไทยโรจน์ พวงมณี. (2552). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของชุมชนท้องถิ่นสำหรับการนำเสนอภาพลักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงศิลปกรรมท้องถิ่นเพื่อการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. เลย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ณัฐกานต์ ลิ่มสถาพร. (2546). Culture for Sale. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ลิฟ.

ตวงรัก รัตนพันธุ์ และ ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์. (2560). “การออกแบบของที่ระลึก: การประยุกต์ ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน”. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 9, 1: 1-14.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2545). อัตลักษณ์ซ้อนของนักมนุษยวิทยาในบ้านเกิด. คนใน: ประสบการณ์ภาคสนามของนักมานุษยวิทยาไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, 201-202.

พระไพรเวศน์ จิตฺตทนฺโต และ กัญจน์ วงศ์อาจ. (2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาเชียงคานโมเดลด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. ค้นเมื่อ 14 สิงหาคม 2555. เข้าถึงจาก http://www.slideshare.net/pentanino/ss-13506355

พีรวัส เจนตระกูลโรจน์. (2560). แนวทางการออกแบบโฮสเทลที่สื่อถึงอัตลักษณ์ของจังหวัดกาญจนบุรี: กรณีศึกษาโฮสเทลพาสุข. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบและการจัดการโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มาริญา ทรงปัญญา. (2561). “การออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าสำหรับผลิตภัณฑ์โอทอป จากวัฒนธรรมพื้นถิ่นอีสานสู่รูปแบบความร่วมสมัย”. การประชุมวิชาการระดับชาติ ศิลปะกรรรมวิจัย ครั้งที่ 4 อัตลักษณ์ศิลปกรรมจากรากสู่โลก. 13-14 กรกฏาคม 2561, 462-472.

วันทกาญจน์ สีมาโรฤทธิ์ และ สุวิชชา ศรีถาน. (2555). “การค้นหาอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนเชียงคาน จังหวัดเลย”. การประชุมทางวิชาการระดับชาติ อุบลวัฒนธรรมครั้งที่ 2 กิน เที่ยว เกี้ยว เล่น. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับเครือข่ายทางวิชาการ วันที่ 27-29 มกราคม 2555 ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 1-12.

ศักดิ์สิทธิ์ คําหลวง และ ศุภรัก สุวรรณวัจน. (2560). การออกแบบอัตลักษณองค์กรชุมชนกาดกองต้าโดยใช้ทฤษฎีสัญศาสตร์ต่อการรับรู้ทุนวัฒนธรรมชุมชนกาดกองต้า จังหวัดลําปาง. วารสารวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 8, 1: 24-39.

สุภาวดี สำราญ, ณัฎฐพล ตันมิ่ง, และ วรากรณ์ ใจน้อย. (2553). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพของคนในท้องถิ่นในการบริหารจัดการท่องเที่ยวและส่งเสริม การท่องเที่ยวในอำเภอเชียงคาน. เลย: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

สุรชัย จันทร์จรัส และ อาร์ม นาครทรรพ. (2556). “ปัจจัยที่มีต่อระยะเวลาการกลับมาเที่ยวซ้ำเชียงคานของนักท่องเที่ยว”. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 9, 3: 145-166.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2543). “แนวคิดหลักทางสังคมวิทยาเรื่อง อัตลักษณ์ (Identity)”. เอกสารประกอบการประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาสังคมวิทยา ครั้งที่ 1. จัดโดยคณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิชาสังคมวิทยา สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ 15-16 ธันวาคม 2543, 4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-30