ผลงานสร้างสรรค์ชุด บันเทิงเริงรำ ลำนำเพลง

ผู้แต่ง

  • วรรณา แก้วกว้าง วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ผลงานสร้างสรรค์, บันเทิงเริงรำ ลำนำเพลง, ทางเพลงขวัญจิต ศรีประจันต์

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์ชุด บันเทิงเริงรำ ลำนำเพลง มีวัตถุประสงค์คือ 1) สร้างสรรค์ชุดการแสดงโดยนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนารูปแบบทางด้านนาฏดุริยางคศิลป์ไทย 2) ประเมินผลการแสดง “บันเทิงเริงรำ ลำนำเพลง” ที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีขอบเขตการวิจัยคือ ศึกษาและนำรูปแบบการแสดงเพลงพื้นบ้านทางเพลงขวัญจิต ศรีประจันต์ ศิลปินแห่งชาติ คือเพลงพิษฐาน เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว เพลงอีแซว เพลงยั่ว-กลองยาว สร้างสรรค์ในรูปแบบการแสดงที่ผสมผสานดนตรีและนาฏศิลป์ไทย โดยศึกษาวิเคราะห์ตำราเอกสารที่เกี่ยวข้อง การศึกษาภาคสนามโดยการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิและกลุ่มศิลปินพื้นบ้านที่มีประสบการณ์สู่กระบวนการสร้างสรรค์ชุดการแสดง พร้อมนำเสนอรูปแบบการแสดงต่อผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ รวมทั้งจัดทำองค์ความรู้ในรูปแบบงานวิจัยสร้างสรรค์เพื่อการเผยแพร่และอนุรักษ์ การแสดงชุดนี้นำเอกลักษณ์เพลงพื้นบ้านจังหวัดสุพรรณบุรีเรียงร้อยเป็นเรื่องราว โดยแบ่งเป็น 3 องก์ คือ องก์ที่ 1 “เพลงศักดิ์สิทธิ์” ใช้เพลงพิษฐาน องก์ที่ 2 “ชีวิตในเพลง” ใช้เพลงเรือและเพลงเกี่ยวข้าว องก์ที่ 3 “ครื้นเครงลำนำ” ใช้เพลงอีแซวและเพลงยั่ว-กลองยาว นำวงปี่พาทย์บรรเลงประกอบ พร้อมกระบวนท่ารำที่สื่อความหมายตามบทเพลงพื้นบ้านในรูปแบบนาฏศิลป์ไทย รวมทั้งนำฉากและอุปกรณ์แสงสีมาประกอบ สะท้อนวิถีชีวิตที่สร้างความสนุกสนาน ความประทับใจในรูปแบบการแสดงโดยใช้เพลงพื้นบ้านดำเนินเรื่องราว

References

ขวัญจิต ศรีประจันต์. ศิลปินแห่งชาติ. สัมภาษณ์, 15 พฤศจิกายน 2556.

สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2546). ดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30