การสร้างสรรค์การแสดงชุด ทวยขนัดสรรพสัตว์อสุรา

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. จุลชาติ อรัณยะนาค วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ดร. วัชรมณฑ์ คงขุนเทียน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์การแสดง, ทวยขนัดสรรพสัตว์อสุรา, นาฏศิลป์ไทย

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การสร้างสรรค์การแสดงชุด ทวยขนัดสรรพสัตว์อสุรา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์การแสดงชุด ทวยขนัดสรรพสัตว์อสุรา ในการแสดงโขนเรื่อง รามเกียรติ์ ตามรูปแบบนาฏยจารีต โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกตจากการชมวีดิทัศน์ การฝึกหัดด้วยตนเอง รวมทั้งประสบการณ์จากการสอนและการแสดง การจัดประชุมกลุ่มย่อยผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า อสุรกายและปีศาจในกองทัพของพญาตรีเศียรแห่งกรุงมัชวารีมีลักษณะและบทบาทที่แตกต่างกันออกไปตามที่ปรากฏในบทประพันธ์ ตัวละครที่ปรากฏอยู่จะเป็นเหล่าทหารที่มีลักษณะเหมือนอสุรกาย ปีศาจ แตกต่างจากพวกยักษ์ การสร้างสรรค์การแสดงมีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนนำ แสดงถึงพลังอิทธิฤทธิ์ ส่วนเนื้อหาจะแสดงถึงลักษณะบุคลิกร่างกายของตัวละคร และส่วนสรุปแสดงถึงความเข้มแข็งเตรียมพร้อมที่จะเคลื่อนทัพ กระบวนท่ารำนำลักษณะเด่นของตัวละครตามบทประพันธ์มาบูรณาการและสร้างสรรค์กระบวนท่ารำ อารมณ์ การเคลื่อนที่ของตัวละคร เพลงที่มีเนื้อหาสาระที่แสดงถึงพลังความฮึกเหิม ความเข้มแข็ง และลักษณะบุคลิกของตัวละคร ได้แก่ เพลงกราวใน เพลงขอมกล่อมลูกชั้นเดียว และเพลงเชิด เป็นการผสมผสานโดยใช้แนวคิดจากการสร้างสรรค์ หลักการวิชาการทางนาฏศิลป์ไทย บทประพันธ์ และภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นหลักสำคัญในการออกแบบทิศทางการเคลื่อนไหว การสร้างสรรค์กระบวนท่า การออกแบบเครื่องแต่งกายและศีรษะที่ใช้ในการแสดง

References

ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะศิลปกรรมศาสตร์.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2496). สีและลักษณะหัวโขน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนพานิช.

ไพโรจน์ ทองคำสุก. (2545). วิเคราะห์รูปแบบความเป็นครูสู่กระบวนการถ่ายทอดความรู้ของผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย ครูเฉลย ศุขะวณิช. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

ส. พลายน้อย. (2531). สัตวนิยาย. กรุงเทพฯ: บำรุงสาส์น.

สุนทร จันทร์ประเสริฐ. (2547). ประติมากรรมพระพุทธรูป (เอกสารประกอบการสอนวิชาประติมากรรมไทยทางศาสนา). นครนายก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2543). นาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: ห้องภาพสุวรรณ.

อารี พันธ์มณี. (2557). ฝึกให้คิดเป็น คิดให้สร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30