วิถีเกษตรกรรมไทย

ผู้แต่ง

  • วิทยา ชลสุวัฒน์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พิษณุ ศรีไหม วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • กาญจนา ชลสุวัฒน์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุนันทา เงินไพโรจน์ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

วิถี, เกษตรกรรมไทย, ประติมากรรมร่วมสมัย

บทคัดย่อ

ผลงานทัศนศิลป์ชื่อ “วิถีเกษตรกรรมไทย” เป็นประติมากรรมร่วมสมัยที่สะท้อนให้เห็นความเป็นพื้นถิ่นไทย ได้รับแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตที่เกี่ยวกับการเกษตรกรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี อันมีอัตลักษณ์เรื่องความเป็นอู่ข้าวอู่น้ำ มีขั้นตอนที่มาเริ่มต้นจากแรงบันดาลใจ แนวความคิด จนนำไปสู่กระบวนการสร้างสรรค์ โดยการนำรูปทรงภาชนะคือ “กระบุงปากบาน” ที่ใช้ในการขนข้าวมาปรับเปลี่ยนปริมาตรจากความทึบตัน ให้รู้สึกถึงความโปร่งเบามากขึ้นด้วยการใช้เส้นเป็นทัศนธาตุหลัก วิธีการคือ เชื่อมโครงสร้างส่วนประกอบทั้งหมดด้วยเหล็กเส้นและเหล็กแผ่นให้ยังคงไว้ซึ่งความงามทางด้านโครงสร้างและรูปทรง เพื่อต้องการสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญงอกงาม ภูมิปัญญาทางเกษตรกรรมของชาวชนบทที่ผูกพันอยู่กับวิถีธรรมชาติ การใช้วัสดุและวิธีการสร้างสรรค์ด้วยทัศนธาตุทางศิลปะผสานเข้าหากันจะเกิดการทำงานระหว่างพื้นที่ว่างกับรูปทรง และเกิดมิติของการเหลื่อมซ้อนระยะระหว่างภายในกับภายนอก เป็นการเชื่อมโยงเรื่องราวอดีตสู่ปัจจุบัน อันจะเป็นแนวทางลักษณะไทยในการพัฒนาผลงานประติมากรรมร่วมสมัยต่อไป

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2544). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
พิจิตตรา มงคลนิมิตร. (31 สิงหาคม 2558). วิถีชีวิตและวัฒนธรรมสุพรรณบุรี. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.stc.ac.th/stc/data/suphan/index.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30