การศึกษาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน และทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้น ปวช. ปีที่ 2 วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่าน, ทัศนคติต่อการเรียนภาษาอังกฤษ, หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ, ภูมิปัญญาท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมของนักเรียนชั้น ปวช. ปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียน และ 3) ศึกษาทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษชุด ภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้น ปวช. ปีที่ 2 วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 25 คน โดยทำการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยของการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราช แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t–test ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออ่านเพิ่มเติมชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราชมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.60/81.07 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราชสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนมีทัศนคติต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษ ชุดภูมิปัญญาท้องถิ่นนครศรีธรรมราชในระดับดีมาก
References
กาญจนา สุริยะวิทยะ. (2553). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่องประเพณีท้องถิ่นสกลนคร เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จุฬาลักษณ์ สุทิน. (2553). การศึกษาความต้องการในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับปวช. นครศรีธรรมราช: วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม.
ปพิชญา แอ่นดอน, ชาตรี มณีโกศล, และผจงกาญจน์ ภู่วิภาดาวรรณ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่มีเนื้อหาท้องถิ่นอำเภอจอมทอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 79 อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.
ทิวา อนันตเมฆ. (2556). รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมภาษาอังกฤษชุด English Reading Comprehension with Wonderful People, Wonderful Things ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ชุมพร: โรงเรียนสวนศรีวิทยา.
วิทยาลัยช่างศิลปนครศรีธรรมราช. (2558). คู่มือการประเมินตนเอง. ผู้แต่ง.
วิภาดา ประสารทรัพย์. (2542). พฤติกรรมการสอนภาษาอังกฤษ โครงการตำราวิชาการ ราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2556). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาระดับอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). คู่มือตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2549). แนวทางการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา.
อังคณา จินะรักษ์. (2557). รายงานผลการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ชุด Let’s visit my Hometown สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. แพร่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37.
Good, C., V. (1973). Dictionary of Education. New York: McGraw-hill Book.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.