ภาษาเพื่อการสื่อสารในการแสดงลิเก

ผู้แต่ง

  • มณี เทพาชมภู วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ภาษาเพื่อการสื่อสาร, การแสดงลิเก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการสื่อสาร องค์ประกอบและวัตถุประสงค์ของการสื่อสารในการแสดงลิเก 2) ศึกษาวัจนภาษาและอวัจนภาษาที่ใช้สื่อสารในการแสดงลิเก 3) วิเคราะห์ลักษณะภาษาที่ใช้สื่อสารในการแสดงลิเก โดยใช้กรณีศึกษาข้อมูลจากคณะลิเกพรเทพ พรทวี ซึ่งเป็นคณะที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลภาคสนามจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า

1. การแสดงลิเกมีรูปแบบการสื่อสาร ประกอบด้วย การไหว้ครู การโหมโรง การรำถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การออกแขก การแสดง และการลาโรง ทุกขั้นตอนมีองค์ประกอบของการสื่อสารครบถ้วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สาร สื่อ และผลที่ปรากฏ มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารชัดเจน กระบวนการสื่อสารในการแสดงลิเกสะท้อนให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสาร คือ ผู้แสดงกับผู้ชม ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผล

2. ภาษาที่ใช้สื่อสารแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1) วัจนภาษา ได้แก่ การใช้คำพูด เนื้อเรื่อง และบทร้อง 2) อวัจนภาษา ได้แก่ ดนตรีและเพลงบรรเลง การรำ กิริยาท่าทาง สีหน้า แววตา น้ำเสียง อารมณ์ การแต่งกาย การแต่งหน้า เวที ฉาก แสง เสียง และอุปกรณ์

3. ลักษณะภาษาที่ใช้สื่อสารในการแสดงลิเก ประกอบด้วย การใช้คำ ได้แก่ คำง่าย สื่อความหมายชัดเจนตรงไปตรงมา คำไพเราะสละสลวย สัมผัสคล้องจอง คำซ้อน คำสรรพนาม คำราชาศัพท์ คำภาษาต่างประเทศ คำสแลง คำที่เป็นสำนวน คำแสดงอารมณ์ความรู้สึก คำศัพท์เฉพาะของลิเก การใช้ภาพพจน์ ได้แก่ อุปมา อุปลักษณ์ และสัญลักษณ์

References

กรองแก้ว แรงเพ็ชร์. (2549). องค์ประกอบการแสดงลิเกคณะพรเทพ พรทวี. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. (2557). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

จิรวัฒน์ เพชรรัตน์ และอัมพร ทองใบ. (2555). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และ วีรวัฒน์ อินทรพร. (2558). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เฉิดฉันท์ ดอกแก้ว. (2543). การวิเคราะห์เนื้อหาของลิเกลูกบท. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนู ทดแทนคุณ และ กานต์รวี แพทย์พิทักษ์. (2557). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร (พิมพ์ครั้ง ที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

พรเทพ พรทวี. กาหลงกรุง. การแสดงลิเก, 22 มีนาคม 2561.

_________. จอมทัพสุโขทัย. การแสดงลิเก, 17 ธันวาคม 2560.

_________. ปาฏิหาริย์แห่งรัก. การแสดงลิเก, 31 ธันวาคม 2560.

_________. ลูกผู้ชายกู้ชาติ. การแสดงลิเก, 8 ธันวาคม 2560.

_________. อานุภาพแห่งความรัก. การแสดงลิเก, 2 พฤศจิกายน 2560.

พิเชฐ สายพันธ์ และ นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2541). ฟ้อนภูไท: พิธีกรรมการแสดงกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

รัตนะ บัวสนธ์ และคณะ. (2554). ฉากแห่งชีวิตจ้าวและไพร่ของชาวลิเก. พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลับนเรศวร.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

________. (2552). พจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ: ยูเนียน อุลตร้าไวโอเร็ต.

ศุภมน อาภานันท์. (2554). การแสดงลิเกคณะทวีป-ชัยณรงค์ วงษ์เทวัญ: การศึกษาตามแนวชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญรญา นวลศิริ. (2560). ท่วงทำนองภาษาและกลวิธีการถ่ายทอดธรรมะในงานเขียน ของพระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุจริต เพียรชอบ. (2539). ศิลปะการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30