การเปรียบเทียบแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (ต่อเนื่อง) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ ทองทวี วิทยาลัยเทคนิคพิษณุโลก
  • ผศ. ดร. เอื้อบุญ ที่พึ่ง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • รศ. ดร. นิวัตร พัฒนะ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

คำสำคัญ:

การเปรียบเทียบ, แรงจูงใจ, ศึกษาต่อปริญญาตรี, สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (ต่อเนื่อง)

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจและเปรียบเทียบแรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (ต่อเนื่อง) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 5 ด้าน คือ 1) ด้านเหตุผลส่วนตัว 2) ด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง 3) ด้านวิชาการสถานศึกษา 4) ด้านการเงิน 5) ด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อาชีพของผู้ปกครอง รายได้ของผู้ปกครองต่อเดือน และภูมิลำเนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีแม่พิมพ์ (ต่อเนื่อง) สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และค่า F-test ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการ ศึกษาต่อโดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งด้านเหตุผลส่วนตัวมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการเงิน ด้านสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ด้านวิชาการสถานศึกษา และด้านบุคคลที่เกี่ยวข้อง

            ผลการเปรียบเทียบแรงจูงใจในการศึกษาต่อ เพศ และอาชีพของผู้ปกครองของนักศึกษาที่แตกต่างกัน มีผลต่อแรงจูงใจในการศึกษาต่อไม่แตกต่างกัน รายได้ของผู้ปกครองต่อเดือน พบว่า ผู้ปกครองที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อสูงกว่าผู้ปกครองที่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท 10,000-20,000 บาท และ 20,001-30,000 บาท ภูมิลำเนาพบว่า นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแรงจูงใจในการศึกษาต่อสูงกว่าในกรุงเทพมหานครที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

References

กมล นาคะสุวรรณ. (30 มิถุนายน 2559). ความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรเพื่ออุตสาหกรรมแม่พิมพ์ ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับสมาคมอุตสาหกรรมแม่พิมพ์ไทย. [ออนไลน์] เข้าถึงจาก http://www.tdia.or.th/home/ความร่วมมือในการพัฒนา.

กิติยานภาลัย ภู่ตระกูล และคณะ. (2555). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 6 และประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 3 ในเขตจังหวัดนนทบุรี. รายงานการวิจัย. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

ณัฐกานต์ พึ่งกุศล. (14 พฤศจิกายน 2559). เหตุจูงใจในการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://research.pcru.ac.th/pcrunc2016/datacd/pcrunc2016/files/O1-018.pdf.

ณัฐสุดา พิพุฒิไกร. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงประเภทวิชาคหกรรมของนักศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

ไทยทริบูน. (30 พฤศจิกายน 2560). ประกาศค่าจ้าง 12 สาขาช่างฝีมือมาตรฐานสูงสุดวันละ 600 บาท. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://thaitribune.org/contents/detail/330?content_id =25474&rand=1485373124.

นิตยา ประเสริฐศาสน์. (2546). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. สารนิพนธ์ การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ.

ปิยรัตน์ บุตรศรี. (2554). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (8 มีนาคม 2555). โพลชี้โรงเรียนมีชื่อเสียง ช่วยให้สอบเข้ามหา'ลัยดังได้. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก http://campus.sanook.com/

สุภาพ เดชคำภู. (2551). แรงจูงใจในการศึกษาต่อระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงของนักศึกษาวิทยาลัยการเทคนิค ในจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

Eli, G. (1974). Counseling for career Development. Boston: Hougton Miftlin Co. abstrdet.

Donald, E., S. (1970). The work values Inventory. Boston: 1 Houghton Mifflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30