สารัตถะของการรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์
คำสำคัญ:
เพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์, มือนารายณ์, สัญศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง สารัตถะของการรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารัตถะของการรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ อันหมายรวมถึงการศึกษารวบรวมประวัติความเป็นมา องค์ประกอบการแสดง รูปแบบการแสดง รวมทั้งเทคนิคกระบวนรำของการรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ และสัญศาสตร์ที่ปรากฏในการรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม พร้อมกับการรับถ่ายทอดกระบวนท่ารำ ผลการวิจัยพบว่า กระบวนรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ถูกร้อยเรียงท่ารำโดย คุณท้าววรจันทร (เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ 4) เมื่อราวปีพุทธศักราช 2454-2462 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บวงสรวง เทวาอารักษ์ในวังสวนกุหลาบ กระบวนรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์เป็นกระบวนการประกอบสร้างจากโครงสร้างของกระบวนรำเพลงช้าเพลงเร็วระบำ หากแต่มีการเลือกสรรท่ารำที่มีความหมายที่ดีและมีการสร้างลักษณะมือพิเศษรวมทั้งทิศทางในการเคลื่อนไหวที่มีความงดงามตามข้อกำหนดกฎเกณฑ์อันเป็นจารีตของการแสดงนาฏศิลป์ แบบหลวง กลวิธีการแสดงจะถูกถ่ายทอดโดยใช้ท่ารำที่สง่างาม สงบ สุภาพ เคร่งขรึมอย่างลีลาท่ารำแบบโขนและละครใน นอกจากนี้ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ามือล่อแก้วหรือมือนารายณ์เป็นสัญญะอย่างหนึ่งประเภทสัญลักษณ์ซึ่งหมายถึงพระนารายณ์และเป็นที่เข้าใจกันในสังคมนาฏกรรมของไทยมากว่า 95 ปี แก่นของกระบวนรำเพลงช้าเพลงเร็วนารายณ์ คือ การสะท้อนรูปแบบของการแสดงเพื่อบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสมัยโบราณโดยเฉพาะในพิธีกรรมของหลวงที่ต้องการความงามพร้อมในทุกด้านทุกมิติของการแสดง สะท้อนความประณีตละเอียดละออในการสร้างสรรค์งานนาฏกรรมตั้งแต่แนวคิด ความหมายของการเคลื่อนไหวอวัยวะ การใช้พื้นที่ องค์ประกอบทุกด้านของการแสดงและกระบวนท่ารำ โดยเฉพาะสัญญะอันสื่อถึงความหมายและลักษณะของความเป็นพระนารายณ์ เทพเจ้าองค์สำคัญและเป็นพระอวตารเพื่อปราบยุคเข็ญบนโลกมนุษย์
References
กรมศิลปากร. (2550). การศึกษาและการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการแต่งกายยืนเครื่องโขน-ละครรำ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
________. (2551). ทะเบียนข้อมูล: วิพิธทัศนา ชุดระบำ รำ ฟ้อน เล่ม 3. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
กาญจนา แก้วเทพ. (2554). สื่อเก่า-สื่อใหม่: สัญญะ อัตลักษณ์ อุดมการณ์. โครงการเมธีวิจัยอาวุโส คณะนิเทศศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมนาด กิจขันธ์. (2547). นาฏยลักษณ์ตัวพระละครแบบหลวง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานาฏยศิลป์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. (2466). ตำราละครฟ้อนรำ. พระนคร: โสภณพิพรรฒนากร.
ประเมษฐ์ บุญยะชัย. (2539). ละครวังสวนกุหลาบ. รายงานวิชาประวัตินาฏยศิลป์ไทย หลักสูตรศิลปศาสตร มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
________. ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 25 ธันวาคม 2558.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2545). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.
พิทยลาภพฤฒิยากร, พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่น. (2507). ประวัติท้าววรจันทร. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์.
ลมุล ยมะคุปต์. (2526). คุณานุสรณ์ในการเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงศพ นางลมุล ยมะคุปต์. กรุงเทพฯ: ประยูรวงศ์.
วรรณพิมล อังคศิริสรรพ. (2551). มายาคติ สรรนิพนธ์จาก Mythologies ของ Roland Bathes. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คบไฟ.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (26 ตุลาคม 2558). ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาดในรัชกาลที่ 4). [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก https://th.wikipedia.org/wiki/ท้าววรจันทร์_(เจ้าจอมมารดาวาด_ในรัชกาลที่_4)
วีระชัย มีบ่อทรัพย์. ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 28 เมษายน 2559.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนนาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 26 ตุลาคม 2558.
สมเกียรติ ตั้งนโม. (แปลและเรียบเรียง). (26 ตุลาคม 2558). สัญศาสตร์ การศึกษาเรื่องเครื่องหมาย-Semiology the study of signs. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.midnightuniv.org/midarticle/newpage12.html
สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2559). พัฒนาการแม่บทในนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อาคม สายาคม. (2525). รายงานนิพนธ์ของ อาคม สายาคม. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.