การจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติตามแนวคิด ของซิมพ์ซัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา

ผู้แต่ง

  • วิรดี จินตะไล บัณฑิตศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ผศ. ดร. ปรวัน แพทยานนท์ วิทยาลัยนวัตกรรมการสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

กิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์, ทักษะปฏิบัติ, แนวคิดซิมพ์ซัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อพัฒนาด้านทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดของซิมพ์ซัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยมุ่งศึกษาการพัฒนาทักษะการปฏิบัติจากกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ตามแนวคิดของซิมพ์ซัน ศึกษาผลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดซิมพ์ซัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 35 คน ผู้วิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลและทำการทดลองจากกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปว่า 1) ออกแบบสร้างแผนกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์ ในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยนำกระบวนการเรียนรู้ทางทฤษฎีแนวคิดซิมพ์ซันมาผนวกกับกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั่วโมงวิชานาฏศิลป์ ซึ่งมีการกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน มีการแบ่งเวลาทั้งหมด 10 ชั่วโมง 2) ผลการทดลองระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติตามแนวคิดซิมพ์ซันของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีมหาราชา โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์สูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้นาฏศิลป์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จันทร์เพ็ญ ภัทรมานนท์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สาระนาฎศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสามพาดพิทยาคาร ตามแนวคิดของซิมพ์ซัน. การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบันฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ธีรยุทธ วิเศษสังข์. (2549). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชาศิลปะ ศ42103 สาระทัศนศิลป์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. การศึกษาค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบันฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2547). โขนโรงใน (โขนทางละคร). ศิลปากร. 47,1 (มกราคม-กุมภาพันธ์), 15-29.

ภรภัทร ชุ่มโสตร์. (2551). การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เรื่องผลการใช้แบบฝึกทักษะนาฏศิลป์ เรื่อง นาฏศิลป์สร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนบางชัน (ปลื้มวิทยานุสรณ์). รายงานการพัฒนานวัตกรรมนาฏศิลป์โรงเรียนบางชัน กรุงเทพฯ.

เรณู โกศินานนท์. (2545). สืบสานนาฏศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

เสาวรี ภูบาลชื่น. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ สาระนาฏศิลป์ เรื่อง รำวงมาตรฐานชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายประถม) ตามแนวคิดของซิมพ์ซัน. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Simpson, D. (1972). Teching Physical Educations: A System Approach. Boston: Houghton Mufflin Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย