ศิลปะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้น

ผู้แต่ง

  • ผศ. ดร. โยธิน พลเขต วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเป่าแคน, ลำทางสั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ศิลปะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้นเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาศิลปะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้น 2) ศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้น ข้อมูลได้จากการสังเกตและสัมภาษณ์จากผู้รู้ ศิลปินหมอแคนและผู้ให้ข้อมูลทั่วไป นำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบด้วยวิธีการแบบสามเส้า วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และนำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) การเป่าแคนประกอบลำทางสั้นมี 2 ลักษณะ คือ การเป่าแคนแบบตรงทำนองลำและการเป่าแบบไม่ตรงทำนองลำ การเป่ามี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกาเต้นก้อนและรูปแบบช้างเทียมแม่ โดยมีหลัก คือ เป่าลายโป้ซ้ายผสมลายสร้อย เป่าแบบสับรำวง และเป่าแบบผสมลายน้อย การดำเนินทำนองจะกระชับไม่เอื้อนเสียง หมอแคนจะต้องเป่าให้สอดคล้องกับจังหวะและทำนองลำ รู้จักจังหวะขึ้นลง รู้ใจหมอลำว่าต้องการให้เป่าอย่างไร รวมทั้งมีศิลปะในการใช้ลม ลิ้น นิ้ว สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้า มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการเป่าให้มีความสัมพันธ์กับเสียงลำ 2) แนวทางการอนุรักษ์ สืบทอดศิลปะการเป่าแคนประกอบลำทางสั้น โดยสร้างคุณค่าและพัฒนาความรู้ความสามารถของศิลปิน สนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สนับสนุนเงินทุนสำหรับเยาวชนที่สนใจอยากเรียนหรือประกอบอาชีพหมอแคน ส่งเสริมให้ศิลปินรวมตัวกันเป็นองค์กรมีความเข้มแข็งและมีเกียรติทัดเทียมกับอาชีพอื่น ศิลปินต้องรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี

References

เจริญชัย ชนไพโรจน์. ศิลปินมรดกอีสาน. สัมภาษณ์, 7 มกราคม 2559.

นภาลัย สุวรรณธาดา. (2533) ความรู้เบื้องต้นทางการประพันธ์เอกสารคำสอนชุดภาษาไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย