แนววิธีการบรรเลงวงปี่ชวากลองแขกกับมวยไทยของสนามมวยเวทีราชดำเนิน
คำสำคัญ:
การบรรเลงวงปี่ชวากลองแขก, มวยไทย, สนามมวยเวทีราชดำเนินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนววิธีการบรรเลงของวงปี่ชวากลองแขกกับมวยไทยดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า การบรรเลงวงปี่ชวากลองแขกของสนามมวยเวทีราชดำเนิน เริ่มจากบรรเลงเพลงโหมโรงก่อนการชกมวยคู่แรกเริ่มชก ช่วงไหว้ครู ปี่ชวาบรรเลงเพลงสระหม่าไทย ผสานกับกลองแขกที่ตีหน้าทับโยน และฉิ่งที่ตีให้จังหวะหลักไปกับลีลาท่าทางการรำไหว้ครูของนักมวยไทย ช่วงที่ 3 ระหว่างการแข่งขันในยกที่ 1 โดยเริ่มบรรเลงเพลงแขกเจ้าเซ็น 2 ชั้น ไปจนเวลาหมดยก และบรรเลงในยกที่ 2-4 ด้วยเพลงสำเนียงแขก อัตราชั้นเดียว กลองแขกตีหน้าทับเจ้าเซ็น ส่วนยกที่ 5 บรรเลงเพลงเชิด ในขณะที่เวลาการชก ยังเหลืออีก 1 นาที เพื่อกระตุ้นให้นักมวยได้ใช้ศิลปะมวยไทยเข้าต่อสู้กันจนการแข่งขันสิ้นสุดลง
References
ปี๊บ คงลายทอง. ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. สัมภาษณ์, 15 มกราคม 2560.
พิณ เรืองนนท์. ข้าราชการบำนาญ กองดุริยางค์ทหารอากาศ. สัมภาษณ์, 19 ธันวาคม 2559.
สมทรง ไตรวาสน์. หัวหน้าคณะวงปี่กลองและผู้บรรเลงกลองแขก สนามมวยเวทีราชดำเนิน. สัมภาษณ์, 7 ธันวาคม 2559.
สมบัติ สวางควัฒน์. (2554). ย้อนตำนานมวยไทย จากอดีตสู่ปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์บุ๊ค เซ็นเตอร์.
สมพงษ์ แจ้งเร็ว. (2526). “บัว วัดอิ่ม อดีตยอดมวยรัตนโกสินทร์”. ศิลปวัฒนธรรมฉบับรวมเล่มปีที่ 4. กรุงเทพฯ: พิฆเนศ พริ้นติ้ง.
สมพงษ์ ภู่สร. ข้าราชการบำนาญ กองดุริยางค์ทหารอากาศนาย. สัมภาษณ์, 9 ธันวาคม 2559.
สหวัฒน์ ปลื้มปรีชา. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำคณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. สัมภาษณ์, 10 มกราคม 2560.
สำรวย จันทร์อ่อน. อดีตผู้เป่าปี่สนามมวยเวทีราชดำเนิน. สัมภาษณ์, 7 เมษายน 2536.
สุวัฒน์ อรรถกฤษณ์. ดุริยางคศิลปินอาวุโส สำนักการสังคีตกรมศิลปากร. สัมภาษณ์, 6 มกราคม 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.