การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยจากแนวคิดคติจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • รศ. ดร. ฉลองเดช คูภานุมาต คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คติจักรวาลวิทยาพุทธศาสนา, การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย

บทคัดย่อ

งานสร้างสรรค์นี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาประวัติความเป็นมาของคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนาที่ปรากฏในงานศิลปกรรมล้านนา ตลอดจนสังเคราะห์องค์ความรู้ที่ได้รับจากการศึกษามาเป็นแรงบันดาลใจเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ผลการศึกษาพบว่า คติไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนา คือ ภูมิปัญญาอันลุ่มลึกในการอธิบายลักษณะของจิตวิญญาณ โดยการสร้างจินตภาพที่สะท้อนถึงรูปลักษณ์ธรรมชาติฝ่ายนามธรรม เพื่ออธิบายโครงสร้างจิตใจของมนุษย์ ด้วยสื่อสัญลักษณ์ที่เทียบเคียงให้สอดคล้องกับรูปธรรมจากประสบการณ์ในโลกแห่งวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมวัฒนธรรมล้านนา คติจักรวาลวิทยาในพุทธศาสนายังเป็นรากฐานสำคัญของภูมิปัญญาดั้งเดิม ซึ่งสะท้อนพลังความศรัทธาที่มีต่อพระพุทธศาสนาและความยิ่งใหญ่ของพระมหากษัตริย์ ด้วยวรรณกรรมและศิลปกรรม ทั้งนี้ สัมฤทธิผลของการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมล้านนา สามารถสะท้อนถึงความลึกซึ้งของพุทธปรัชญา ผ่านรูปทรงสัญลักษณ์จากคติจักรวาลที่ปรากฏในงานศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม นอกจากนี้ ผู้ศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย รูปแบบศิลปะจัดวาง ซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ของท้องถิ่นล้านนา และแสดงออกถึงความศรัทธาในหลักพุทธธรรมผ่านรูปทรงสัญลักษณ์โดยตีความหมายแนวคิดคติจักรวาลวิทยาจากงานศิลปกรรมล้านนา เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมวิธีคิดอันเป็นผลผลิตทางพุทธิปัญญาของชาวพุทธ

References

คณิตา เลขะกุล. (2535). บัวราชินีแห่งไม้น้ำ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสวนหลวง ร. 9.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). ไตรภูมิพระร่วงอิทธิพลต่อสังคมไทย. กรุงเทพฯ: โกมลคีมทอง.

________. (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2554). หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

ฟื้น ดอกบัว. (2550). พุทธปรัชญาแห่งชีวิต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

วิไลรัตน์ ยังรอด. (2540). การศึกษาภาพภูมิจักรวาลจากภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศรีศักร วัลลิโภดม. (2544). พัฒนาการทางสังคม-วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.

สน สีมาตรัง. (2550). คติความเชื่อไตรภูมิและจักรวาลวิทยาในจิตรกรรมฝาผนังไทย. กรุงเทพฯ: คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2542). การวิจัยในมิติวัฒนธรรม. เชียงใหม่ : มิ่งเมือง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย