การศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อสภาพทางร่างกายของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2
คำสำคัญ:
ปัจจัยที่มีอิทธิพล, ภาวะโภชนาการ สภาพทางร่างกายของนักเรียน, วัฒนธรรมการบริโภคของกลุ่มชาติพันธุ์, ปัจจัยเชิงสาเหตุบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสภาพทางร่างกายของนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงรายเขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนกลุ่มชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่ศึกษาในโรงเรียนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โมเดลสอดคล้องกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะโภชนาการได้ร้อยละ 25 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด คือ บริโภคนิสัย รองลงมาคือความรู้ด้านโภชนาการ โภชนาการของครอบครัว วัฒนธรรมการบริโภคของกลุ่มชาติพันธุ์ และรายได้ของครอบครัว ตามลำดับ มีค่าเท่ากับ 0.448 0.287 0.152 -0.131และ -0.123 ตามลำดับ ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด มี 5 ปัจจัย คือ บริโภคนิสัย ความรู้ด้านโภชนาการ ภาวะโภชนาการของครอบครัว วัฒนธรรมการบริโภคของกลุ่มชาติพันธุ์ รายได้ของครอบครัว ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง มี 5 ปัจจัย คือ บริโภคนิสัย ภาวะโภชนาการของครอบครัว วัฒนธรรมการบริโภคของกลุ่มชาติพันธุ์ ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม ได้แก่ ความรู้ด้านโภชนาการ ภาวะโภชนาการของครอบครัว และรายได้ของครอบครัว
References
กนกวรรณ เอี่ยมชัย. (2549). การพัฒนารูปแบบและวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยการใช้กระบวนการวิจัย (Research based learning) ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาไทยศึกษาสำหรับนักศึกษาพยาบาล. พะเยา : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
กรมอนามัย. (2555). รายงานของสำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ กรมอนามัย. นนทบุรี : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
ไทยรัฐ. (2553, มีนาคม 16). “ปัญหาภาวะทุพโภชนาการ”. ไทยรัฐ. หน้า 6.
พบพร พิมพ์ประภาภร. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารและภาวะโภชนาการของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาโภชนศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2551). โภชนาการแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด.
__________. (25 สิงหาคม 2555). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ.2551-2 สุขภาพเด็ก. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก www.hisro.or.th/main/download/NHES4_CHILD.pdf
ศิริลักษณ์ สินธวาลัย. (2552). หลักโภชนาการและหลักการบำบัดโรค. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์. กระทรวงอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุเนตรา นุ่นลอย. (2554). พฤติกรรมการควบคุมน้ำหนักของเด็กและวัยรุ่นที่มีภาวะอ้วนที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (20 สิงหาคม 2553). ระบบรายงานภาวะโภชนาการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก: http://nutrition.anamai.moph.go.th
อบเชย วงศ์ทอง. (2542). โภชนศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.