ปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2

ผู้แต่ง

  • ผาณิตดา วงศ์ขจร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ผศ. ดร. สุชาติ ลี้ตระกูล คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ดร. กิตติศักดิ์ นิวรัตน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ปัจจัยพหุระดับ, ผลสัมฤทธิ์, โอเน็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัจจัยพหุระดับที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 1,162 คน ครูในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 398 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 9 ด้าน ได้แก่ แบบสอบถามแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แบบสอบถามเจตคติต่อการเรียน แบบสอบถามความตั้งใจเรียน แบบสอบถามความตั้งใจในการสอบ แบบสอบถามบรรยากาศในชั้นเรียน แบบสอบถามคุณภาพการสอนของครู แบบสอบถามการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบสอบถามการประเมินผลที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.844, 0.839, 0.864, 0.872, 0.879, 0.914, 0.804 และ 0.874 ตามลำดับ มีแบบทดสอบวัดความถนัดทางภาษา ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.885 โดยการวิเคราะห์พหุระดับ Multi-Level Analysis จากผลการวิเคราะห์ สรุปได้ดังนี้ การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยระดับนักเรียน พิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปัจจัยระดับนักเรียนแต่ละตัวแปรกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) พบว่าปัจจัยระดับนักเรียน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียน ความตั้งใจในการสอบ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .091, .089 และ .084 ปัจจัยความถนัดทางภาษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .075 ส่วนปัจจัยความตั้งใจเรียนมีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) อย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .059 และปัจจัยระดับห้องเรียน เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายระหว่างปัจจัยระดับห้องเรียนแต่ละตัวแปรกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) พบว่าปัจจัยระดับห้องเรียน คุณภาพการสอนของครู บรรยากาศในห้องเรียน การประเมินผลที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6(O-NET) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .442, .411และ.358 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีความสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (O-NET) อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสหสัมพันธ์เท่ากับ .127 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 คือ ปัจจัยระดับนักเรียนร่วมกันพยากรณ์ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 45.798 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ความตั้งใจสอบ มีค่าเท่ากับ 0.976 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เจตคติต่อการเรียน ความถนัดทางภาษา มีค่าเท่ากับ 0.699, 0.922 และ0.053 ตามลำดับ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความตั้งใจเรียน มีค่าเท่ากับ -1.396 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และยังพบว่าปัจจัยระดับห้องเรียนร่วมกันพยากรณ์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเท่ากับ 45.574 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 บรรยากาศในห้องเรียน การประเมินผลที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ มีค่าเท่ากับ 3.322และ4.250 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คุณภาพการสอนของครู มีค่าเท่ากับ 2.207 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีค่าเท่ากับ -3.435 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กอบชัย โพธินาแค. (2546). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดศรีษะเกษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จันทร์ชลี มาพุทธ. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ”. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

จุฑาทิพย์ ชาติสุวรรณ์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพการสอน ความถนัดทางภาษา แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความตั้งใจเรียน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อวิชาภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธัญญา เรืองแก้ว. (2550). “บทบาทของครูและผู้เรียนในการประเมินผลการเรียนรู้”. วารสารวิชาการ 14, 4: 44-51.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพื้นฐานของการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

พิไลพร แสนชมพู. (2546). การศึกษารูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา จรูญผล. (2549). การวิเคราะห์พหุของระดับตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ วท.ม.มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัฒนชัย ถิรศิลาเวทย์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการสอนของครู พฤติกรรมการเรียนและพฤติกรรมด้านจิตพิสัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วันดี สมมิตร. (2552-2553). ผลกระทบของการสอบระดับชาติขั้นพื้นฐานที่มีต่อพฤติกรรมการสอนของครูในเขตกรุงเทพมหานคร. การวิจัยแบบผสม. การศึกษาครุศาสตรมหาบัณฑิต.กรุงเทพฯ: ศูนย์บรรณสารสนเทศคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร สุริยา. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพงษ์ จิตระดับ. (2552). การประเมินผลของการนำหลักสูตรและการวางแผนท้องถิ่นเพื่อเด็กและเยาวชน ไปทดลองใช้ใน 6 จังหวัดภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอื้อมพร หลินเจริญ, สิริศักดิ์ อาจวิชัย, และภีรภา จันทร์อินทร์. (2552). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้คะแนนการทดสอบ O-NET ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำ. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย