ปัจจัยจำแนกความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2

ผู้แต่ง

  • ปัทมา แสนเมธา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

ปัจจัยจำแนก, คิดวิเคราะห์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจำแนกกลุ่มความสามารถการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนและเพื่อสร้างสมการจำแนกกลุ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2557 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 412 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 2 ฉบับ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยจำแนกความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ประกอบด้วย 9 ด้าน ดังนี้ คือ นิสัยในการเรียน (A) แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (B) เจตคติต่อการเรียน (C) ความวิตกกังวล (D) การฝ่าฝันอุปสรรค (E) อัตมโนทัศน์ (F) การจัดการเรียนการสอน (G) การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครอง (H) บรรยากาศในชั้นเรียน (I) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กระบวนการวิจัยการจำแนกกลุ่ม (Discriminant Analysis) วิธีแบบลำดับขั้นตอน (Stepwise Method) ด้วยวิธีการของ Wilk’s Lambda ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (B) นิสัยในการเรียน (A) การฝ่าฝันอุปสรรค (E) และอัตมโนทัศน์ (F) สามารถจำแนกกลุ่มความสามารถ การคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ได้ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์ของปัจจัยและสามารถสร้างสมการมาตรฐาน การจำแนกกลุ่มดังนี้ Z=1.768(B)-.702(E)-.348(A) -.300(F) และมีสมการของการจำแนกกลุ่มได้เป็น Y=-3.633+.252(B)-.080(E)-.046(A)-.036(F) โดยสมการจำแนกกลุ่มสามารถพยากรณ์การเป็นสมาชิกของทั้งสองกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 84

References

กรวิภา สวนบุรี. (2546). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กลิ่น สระทองเนียม. (28 พฤษภาคม 2556). บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยปูรากฐานเด็กไทยสู่อนาคต. เดลินิวส์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=50718

กัญญภัค พุฒตาล. (2549). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์และการคิดสังเคราะห์ของนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ช่วงชั้นที่ 3. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

โกวิท วงศ์สุวรวัฒน์. (12 กันยายน 2556). ไม่น่าแปลกใจเลยที่คุณภาพการศึกษาของไทยอยู่อันดับรั้งท้ายของกลุ่มอาเซียน. มติชนออนไลน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1378896116&grpid=01&catid&subcatid

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร. (20 พฤศจิกายน 2558). พัฒนาทักษะการคิด มันยากจริงหรือ. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.pccpl.ac.th/~sci/techer/25540622inquiry.pdf

ดารา บัวส่อง. (2550). การวิเคราะห์ตัวแปรจำแนกทักษะการคิดระดับสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาศรีสะเกษเขต 2. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

นิพัทธา ชัยกิจ. (2551). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร(ฝ่ายมัธยม)ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้และสืบเสาะหาความรู้. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บงกาล จันทร์หัวโทน. (2551). ตัวแปรคัดสรรบางประการที่สัมพันธ์กับความสามารถในการการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ดเขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). พัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรนภา บรรจงกาลกุล. (2539). การวิเคราะห์จำแนกปัจจัยที่เกี่ยวกับการเรียนของกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและต่ำ ในสถาบันผลิตครู สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธ ไกรวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสําหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตนา คิดดี. (2548). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วนิช สุธารัตน์. (2543). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วุฒิไกร เที่ยงดี. (2549). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของจังหวัดกาฬสินธุ์ : การวิเคราะห์พหุระดับ. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วุฒิชัย เหล่าเลิศ. (2550). ผลของคุณภาพชีวิตการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีต่อการปฏิบัติงานของครูพระสอนศีลธรรมโรงเรียนในจังหวัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สมคริต เตชะ. (2548). การวิเคราะห์จำแนกตัวแปรระหว่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานสูงกับต่ำในโรงเรียนนำร่องและโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม. วิทยานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สิทธิพล อาจอินทร์. (20 พฤศจิกายน 2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์. [ออนไลน์]. เข้าถึงจาก http://www.resjournal.kku.ac.th/article/16_01_72.pdf

สุชาดา ปั้นโฉม. (2551). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์ในวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในโรงเรียนเอกชนกลุ่ม 3 เขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานครเขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรวรรณ เอี่ยมกิจไพศาล. (2552). ปัจจัยบางประการที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

Mara.S.E. (1997). An Exploration of Critical Thinking Leanning Style.Locus of Control and Environmental Perception Baccalaureate Nursing tudent. Dissertation Abstracts. 59, 9: 3420-A.

McClelland, D.C., and othere. (1953). The achievement motive. New York: Appleton Century Croffs.

Paul G Stoitz. (1997). Adversity Quotient : Turning Obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย