ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ผู้แต่ง

  • ผศ. ว่าที่ร้อยตรี ดร. ธวัช เติมญวน วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ปัจจัย, กิจกรรมนันทนาการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยจำแนกตามตัวแปรเพศ ชั้นปี และคณะที่ศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 791 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยภายในที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่ต้องการได้รับความสนุกสนานจากการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ และมีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการ ปัจจัยภายนอกที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าผู้นำกิจกรรมนันทนาการ สถานที่จัดกิจกรรม และอาจารย์ฝ่ายกิจกรรมมีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษา

2. การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการของนักศึกษา พบว่า

2.1 นักศึกษาเพศต่างกันมีปัจจัยภายในต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.2 นักศึกษาที่เรียนชั้นปีต่างกันมีปัจจัยโดยรวมและปัจจัยภายนอกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 นักศึกษาที่เรียนคณะต่างกันมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการไม่แตกต่างกัน

References

กนกวดี พึ่งโพธิ์ทอง. (2540). สันทนาการเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสันทนาการ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรกช ศิริ. (2536). การศึกษาความต้องการของนิสิตที่เกี่ยวกับการเข้าร่วมกิจกรรมนิสิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กำโชค เผือกสุวรรณ. (2538). ผู้นำสันทนาการ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสันทนาการคณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชูชีพ เยาวพัฒน์. (2543). นันทนาการ. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

จันทร์ ผ่องศรี. (2544). นันทนาการ เอกสารคำสอน. คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเสริม อุทัยผล. (2533) นันทนาการเบื้องต้น. เชียงใหม่ : วิทยาลัยครูเชียงใหม่.

พีระพงศ์ บุญศิริ. (2542). นันทนาการและการจัดการ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

มานะ หมอยาดี. (2540). การใช้เวลาว่างเพื่อการออกกำลังกายของนักเรียนนายเรืออากาศ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมบัติ กาญจนกิจ. (2535). นันทนาการชุมชนและโรงเรียน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_________. (2542). นันทนาการชุมชนและโรงเรียน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_________. (2544). นันทนาการชุมชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2554). คู่มือนักศึกษา: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. กรุงเทพฯ: กระทรวงวัฒนธรรม.

สัมฤทธิ์ ใจดี. (2544). การศึกษาเจตคติของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงต่อการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษา. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการวัดและประเมินผลทางการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2540). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

อารี พันธุ์มณี. (2538). “การจูงใจ” จิตวิทยาการเรียนการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ.

อัมพา ซองทุมมินทร์. (2542). เจตคติต่อกิจกรรมนักศึกษาของสถาบันราชภัฏอุดรธานี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Herzberg, F. (1979). “Motivation and innovation: who are workers serving?”. California management review. 22, 2: 60-70.

Humphrey, R. D. (1966). The Relationship of Participation in Out-of School Activities to School. Achievement, Thesis Abstract. No.6. Indiana: School of Education, Indiana University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30, 3: 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย