การศึกษากระบวนการสอนซอด้วงระบบ P.Q.C.T. กรณีศึกษา: ครูจีรพล เพชรสม

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา แก้วศรีใส นิสิตหลักสูตรดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ดร. ธนภร เพ่งศรี คณะดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปรเมศวร์ โพธิ์คล้าย หลักสูตรดนตรีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กระบวนการสอนซอด้วงระบบ P.Q.C.T., รสมือ

บทคัดย่อ

การศึกษากระบวนการสอนซอด้วงระบบ P.Q.C.T. กรณีศึกษา: ครูจีรพล เพชรสม
มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสอนซอด้วงระบบ P.Q.C.T. โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการสอนซอด้วงของคุณครูจีรพล เพชรสม เน้นรูปแบบการถ่ายทอดระบบ P.Q.C.T. ได้แก่ ความเป็นมืออาชีพ (Professional) หมายถึง การวางแผนการบรรเลงซอด้วงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ รวมทั้งกระบวนการทั้งหมดของการสร้างงานการบรรเลงซอด้วงมีคุณภาพ (Quality) หมายถึง คุณภาพในการบรรเลงซอด้วงซึ่งรวมไปถึงคุณภาพของผู้บรรเลง คุณภาพของซอด้วงที่ใช้ในการบรรเลง คุณภาพของความไพเราะในการบรรเลงเพลง มีสมรรถนะ (Competency) หมายถึง ฝีมือในการบรรเลงซอด้วงอย่างมีคุณภาพ ความคล่องตัวของระบบสมองกล้ามเนื้อ หรือความชำนาญการคิดประดิษฐ์ ริเริ่มสร้างสรรค์ ทำนองเพลง รวมทั้งสมรรถนะในการบรรเลงซอด้วง สมรรถนะในเรื่องของฝีมือ สมรรถนะในเรื่องของคุณภาพ หรือรสมือในการบรรเลงซอด้วงอย่างไพเราะ สมรรถนะในเรื่องของการดำเนินกลอนเพลงและมีกระบวนการสอน (Teaching) หมายถึง กระบวนการทั้งหมดที่ได้มีการสั่งสมมาและนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างสรรค์งานการบรรเลงซอด้วง รูปแบบการถ่ายทอดระบบ P.Q.C.T. ประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญหลัก คือ วิธีการเรียนการสอนเพลงพื้น กระบวนการเรียนการสอน วิธีการสอน ปัญหาและวิธีการแก้ไข องค์ประกอบของการฟังดนตรี สัญลักษณ์การบันทึกโน้ต แบบฝึกและเพลงฝึกปฏิบัติการบรรเลงซอด้วง มีการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการบรรเลงซอด้วง รวมทั้งการวัดผลการประเมินในภาพรวม

References

คณะกรรมการอำนวยการจัดงาน 120 ปีชาตกาล หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน). (2555). สิบสองทศวรรษ วารสารเสียงไทย ไพเราะเสียงซอ. ม.ป.ท.

จีรพล เพชรสม. (2555). กลวิธีการสอนแบบจี ซอด้วง. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เพรส จำกัด.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2538). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภาดา เดชแสง. (2556). ศึกษาแนวคิดการดีดจะเข้ เพลงต้นเพลงฉิ่งสามชั้น 7 เสียง ของอาจารย์จีรพล เพชรสม. ศิลปนิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-30