วิวัฒนาการการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่า

ผู้แต่ง

  • กฤษณะ สายสุนีย์ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

วิวัฒนาการ, ละครรำ, เรื่องเงาะป่า

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งนำเสนอวิวัฒนาการการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าที่มีวิวัฒนาการของการแสดงอย่างต่อเนื่อง นับแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องเงาะป่าขึ้น โดยเริ่มให้แสดงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 ภายในวังของพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา สันนิษฐานว่าครั้งนั้นใช้ผู้แสดงเป็นผู้หญิงล้วนและแสดงเป็นตัวละครสำคัญ เนื่องจากจัดแสดงขึ้นในเขตพระราชฐานชั้นใน ส่วนตัวประกอบชายก็ใช้เด็กชายที่ยังไม่ถึงวัยต้องออกไปอยู่ฝ่ายหน้ามาร่วมแสดงด้วย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พระอนุชารัชกาลที่ 6) ทรงมีพระราชประสงค์ให้มีการจัดแสดงละครรำเรื่องเงาะป่า ที่วังของท่าน โดยใช้ผู้แสดงจากคณะละครวังสวนกุหลาบซึ่งเป็นผู้หญิงล้วน มีการพัฒนา การแต่งหน้าที่นำเครื่องสำอางจากยุโรปมาแต่งหน้าให้แก่ตัวละคร แทนการผัดหน้าขาวด้วยฝุ่นจีนอย่างโบราณ ผัดตัวด้วยฝุ่นสีดำ และม้วนผมเป็นเกลียวขดให้สมจริงตามบทบาทและลักษณะของตัวละคร “เงาะป่า” เครื่องแต่งกายของตัวละครฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมชายเสื้ออยู่ด้านใน นุ่งผ้าพื้นโจงกระเบน ตัวละครฝ่ายหญิงใช้การห่มสไบสองชาย ในสมัยรัชกาลที่ 7 ปรากฏว่ามีการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าอีกครั้ง ไม่ปรากฏการแสดงในสมัยรัชกาลที่ 8 จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 9 กรมศิลปากรได้จัดการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าอีกหลายครั้ง ดังเช่น ก่อนปี พ.ศ. 2511 จัดการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าโดยยังคงใช้ผู้หญิงแสดงล้วน เครื่องแต่งกายของตัวละครใช้แบบอย่างการแสดงในสมัยรัชกาลที่ 6 ส่วนในปี พ.ศ. 2511 กรมศิลปากรจัดการแสดงละครรำเรื่องเงาะป่ารูปแบบการแสดงได้เปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยใช้ผู้หญิงแสดงล้วนมาใช้แบบชายจริงหญิงแท้ เครื่องแต่งกายจึงมีการเปลี่ยนแปลง ไปด้วยเช่นกัน และในสมัยรัชกาลที่ 10 กรมศิลปากรได้จัดแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าอีกครั้งและยังคงใช้แบบอย่างผู้แสดงแบบชายจริงหญิงแท้

นับแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงละครรำเรื่องเงาะป่าได้มีการแสดงปรากฏอยู่เรื่อยมา โดยแรกเริ่มคงใช้ผู้หญิงแสดงตามแบบแผนในอดีต แต่ต่อมากรมศิลปากรมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ผู้แสดงเป็นชายจริงหญิงแท้ตามความนิยมของผู้ชม โดยยังคงเค้าโครงเรื่องไว้ตามบทพระราชนิพนธ์ แต่สิ่งที่มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไป คือ เพศของผู้แสดงและเครื่องแต่งกาย ทั้งนี้เพื่อให้การแสดงละครรำเรื่องนี้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยและความสมจริงมากยิ่งขึ้น และเป็นการสร้างอรรถรสในการรับชมอีกด้วย

References

กรมศิลปากร. (2541). สรุปผลการสัมมนาทางวิชาการระดับชาติ เรื่องเงาะป่า. กรุงเทพฯ: กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

กฤษณะ สายสุนีย์. (2562). กลวิธีและกระบวนท่ารำอาบน้ำแต่งตัวของตัวละครเอกฝ่ายชายในการแสดงละครเรื่องเงาะป่า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

คมสัน มหิงษ์. (2547). เพลงในบทละครเรื่องเงาะป่า ตอนแต่งงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.

จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2559). บทละครเรื่อง เงาะป่า ฉบับสอบชำระพร้อมต้นฉบับลายพระหัตถ์สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล / พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2540). พิพิธทัศนตัวละครรำ “เงาะป่า” สูจิบัตรการแสดงเงาะป่า บทพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ อุทยานละครกลางแจ้ง ภัทราวดี เธียร์เตอร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ถาวร สิกขโกศล. (2559). บทละครเรื่องเงาะป่า (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ประเมษฐ์ บุณยะชัย และคณะ. (2555). 101 ปีละครวังสวนกุหลาบ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พงษ์วริน.

พนิดา สิทธิวรรณ. (2540). “ละครรำเรื่องเงาะป่า” สูจิบัตรการแสดงเงาะป่า ณ อุทธยานละครกลางแจ้งภัทราวดีเธียร์เตอร์. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

สถาบันราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. (2539). การแสดงละครรำเรื่องเงาะป่า ตอนแต่งงาน. ณ ศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ, วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2539.

สมหมาย เทียบเทียม. (2520). บทละครเรื่องเงาะป่าพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 5 : การศึกษาวิเคราะห์ทางสังคมและวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักการสังคีต กรมศิลปากร. (2561). การแสดงละครรำเรื่องเงาะป่า งานอุ่นไอรักคลายความหนาว. ณ สนามเสือป่า พระราชวังดุสิต, วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561.

Chaiyampawan. (2010). ฉุยฉายฮเนา. [online]. Retrieved 11 September 2010. from https://www.youtube.com/watch?v=Qc-ctb8b53Y

รายนามผู้ให้สัมภาษณ์

ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) พ.ศ. 2548. สัมภาษณ์, 10 พฤศจิกายน 2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30