หัวตะเข้ : ภาพทรงจำ วิถีชีวิต และอนาคตภาพ ของความเป็นชุมชนตลาดเก่า
คำสำคัญ:
ชุมชนตลาดเก่า, ภาพทรงจำ, วิถีชีวิต, อนาคตภาพบทคัดย่อ
ชุมชนในอดีตมีความผูกพันอยู่กับสายน้ำ ประจักษ์พยานที่สำคัญ ได้แก่ ตลาดน้ำ โรงเรียน วัด หรือศาลเจ้าริมน้ำ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา สภาพ วิถีชีวิต และพยากรณ์ภาพอนาคตของชุมชนหัวตะเข้ โดยค้นคว้าจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนามโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม สัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก และใช้การวิเคราะห์แบบพรรณนาความเพื่อสื่อสารความหมายเชิงสรุปเป็นเครื่องมือในการดำเนินการ ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนหัวตะเข้ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยสร้างสรรค์กิจกรรมที่มีความไม่แท้ควบคู่กับการประกอบการเชิงพาณิชย์บนวิถีชุมชนดั้งเดิม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ คือ ในการส่งเสริมตลาดเก่า ควรมีการอนุรักษ์ ฟื้นฟูชุมชนโดยให้คงความแท้อยู่ร่วมด้วย เพื่อไม่ให้กระทบต่อความเป็นอยู่ และเพื่อความยั่งยืนของการเป็นชุมชนตลาดเก่าริมน้ำ
References
ดำรงค์ ฐานดี. (2555). คนเกาหลี : มุมมองจากคนภายใน (Koreans: “Emic” View on Korean Stereotype). กรุงเทพฯ: ศูนย์เกาหลีศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ทวีวัฒน์ จิตติเวทย์กุล. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนภูมิปัญญาเพื่อส่งเสริมผลิตภาพชุมชนมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการจัดการเพื่อการพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
ธาดา สุทธิธรรม. (2554). หลักการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมและการอนุรักษ์มรดกสถาปัตยกรรมถิ่นอีสานในแนวทางการมีส่วนร่วม. ขอนแก่น : มูลนิธิภูมิปัญญาสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและศิลปะเอเชีย.
ประวัติศาสตร์ชาติไทย. (2563). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2563. เข้าถึงจาก http://www.ประวัติศาสตร์ชาติไทย.com
ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ. (2552). การอนุรักษ์มรดกทางสถาปัตยกรรมและชุมชน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภูเกริก บัวสอน. (2554). การฟื้นฟูตลาดเก่าในเมืองไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
โรงเรียนพรตพิทยพยัต. (2563). ประวัติโรงเรียนพรต. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2563. เข้าถึงจาก http://www.prot.ac.th/datashow_29102
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2549). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์ และณัฐนิชา กรกิ่งมาลา. (2561). กลยุทธ์และเครือข่ายการสื่อสารเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง กรณีศึกษาชุมชนหัวตะเข้ เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 12, 2: 221-247.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.