นาฏศิลป์สร้างสรรค์กับการพัฒนาวิทยฐานะของครู (ตอนที่ 1)
คำสำคัญ:
นาฏศิลป์สร้างสรรค์, ครูนาฏศิลป์บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ข้อเสนอแนะแก่ครูนาฏศิลป์ที่ต้องการทำผลงานวิชาการด้านการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ เพื่อขอเพิ่มวิทยฐานะให้สูงขึ้น ผู้เขียนได้ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนท่ารำและการออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ จากงานวิจัยและหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ตลอดจนรวบรวมประสบการณ์ที่พบข้อบกพร่องของการเขียนรายงานผลงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ของครู แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นเอกสารวิชาการ โดยแบ่งเนื้อหาของบทความออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 “ข้อสังเกตที่พบจากงานสร้างสรรค์นาฏศิลป์ของครู” ตอนที่ 2 “กระบวนการสร้างสรรค์นาฏศิลป์เพื่อเสนอขอเพิ่มวิทยฐานะครู” และตอนที่ 3 “นวัตกรรมนาฏศิลป์สร้างสรรค์แนวใหม่ที่ใคร ๆ ก็ทำได้” บทความเรื่องนี้เป็นตอนที่ 1 เป็นการประมวลข้อบกพร่องและข้อเสนอแนะที่ผู้เขียนพบจากผลงานสร้างสรรค์นาฏศิลป์ของครู เพื่อให้ครูระมัดระวังการเขียนอธิบายท่ารำ การออกแบบสาระเรื่องราวของการแสดง และการออกแบบองค์ประกอบของการแสดง ทั้งนี้ผู้เขียนได้เสนอเทคนิคการออกแบบการแสดง ตลอดจนการเสนอเนื้อหาสาระในการแสดง วิธีการอธิบายท่ารำและการใช้คำนาฏยศัพท์สำหรับเขียนในผลงานของครู เพื่อให้ครูสามารถเขียนผลงานได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับวิธีการเขียนในระบบสากล
References
ชมนาด กิจขันธ์. (2543). การพัฒนานาฏยจารึกนาฏยศัพท์ไทยโดยใช้ระบบของลาบาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). คู่มือการประเมินให้ข้าราชการครูและบุคคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูมีวิทยฐานะและเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของ สกสค.
อาคม สายาคม. (2525). รวมงานนิพนธ์ของนายอาคม สายาคม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: รุ่งศิลป์การพิมพ์.
Hutchinson Guest, Ann. (1991). Labanotation. New York: Routledge. Chapman and Hall. Inc.
Ryman, Rhonda. (1992). “Whiting It All Down”. Dance collection Journal. September/ October: 29-33.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.