กระบวนวิธีปรุงแนวเพลงสำหรับการบรรเลงกระจับปี่และซอสามสาย
คำสำคัญ:
วิธีปรุงแนวเพลง, การสร้างสรรค์ทางเพลง, กระจับปี่, ซอสามสายบทคัดย่อ
งานวิจัยสร้างสรรค์นี้เป็นการวิจัยสร้างสรรค์ทางดนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ทางเพลงสำหรับการบรรเลงกระจับปี่และซอสามสาย ใช้วิธีดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต ผู้วิจัยสร้างสรรค์กระบวนวิธีปรุงแนวเพลงด้วยเทคนิคกระจับปี่และซอสามสาย สร้างสรรค์ทางบรรเลงจำนวน 3 เพลง ได้แก่ 1. โหมโรงสาธุการ 2. เพลงผกาภิรมย์ สองชั้น 3. เพลงพญานาค เถา ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ทำนองหลักโดยรองศาสตราจารย์ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้
การสร้างสรรค์ทางบรรเลงกระจับปี่ ผู้วิจัยสร้างสรรค์ทำนองโดยนำลักษณะการดีดของกระจับปี่ มาเป็นแนวทางในการสร้างวิธีการดีด ลักษณะวิธีการดำเนินทำนองใช้ลักษณะการดีดห่าง ๆ ทีละเสียง การดีดซ้ำเสียง การดีดทำนองเก็บและการดีดกระทบสายเปล่าทุก ๆ ท้ายวรรค ดำเนินทำนองโดยยึดทำนองหลักไว้เป็นสำคัญ
การสร้างสรรค์ทางบรรเลงซอสามสาย ดำเนินทำนองโดยยึดทำนองหลักไว้เป็นสำคัญทั้งเสียงลูกตกและกลุ่มเสียงของทางเพลง โดยคงลักษณะอันโดดเด่นของซอสามสายไว้ คือ ลักษณะการสีประสานเสียง คู่ประสาน การดำเนินทำนองไม่ซับซ้อนมากนัก ใช้สีแบบห่าง ๆ ผสมกับการสีทำนองเก็บ
References
ธนิต อยู่โพธิ์. (2530). หนังสือดนตรีไทย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
พระบรมราโชวาท. (2562). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2562. เข้าถึงจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/.html
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
วราภรณ์ เชิดชู. (2561). เพลงตับ “พิณทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.