การสร้างสรรค์ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์, ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบการสร้างสรรค์ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์ เพื่อนำผลมาวิเคราะห์และเขียนเป็นรายงานการศึกษา การศึกษาพบว่าการสร้างสรรค์ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ประกอบด้วย 1) ท่าฟ้อนมีทั้งหมด 3 ช่วง 2) ผู้แสดงมีทั้งหมด 3 กลุ่ม ประกอบด้วย นักแสดงชาย นักแสดงหญิง และนักแสดงวัยเด็ก 3) เครื่องแต่งกายมีทั้งหมด 4 ชนิด ประกอบด้วยผ้าแพรวา ผ้าถุง เครื่องประดับร่างกาย และเครื่องประดับผม และ 4) ดนตรีประกอบ ใช้ดนตรีพื้นบ้านอีสานบรรเลงลายแพรวากาฬสินธุ์ มีลักษณะเด่นของท่วงทำนองซึ่งมี 3 ลักษณะ ประกอบด้วยจังหวะช้า ปานกลาง และเร็ว ขั้นตอนในการออกแบบสร้างสรรค์ฟ้อนแพรวากาฬสินธุ์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ ที่ได้รับความนิยมและยอมรับจากสังคมมายาวนานจนถึงทุกวันนี้ เนื่องจากได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ และการถ่ายทอดองค์ความรู้จากคณะครู อาจารย์ภาคนาฏศิลป์และภาคดุริยางค์
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). 100 หมู่บ้านอีสานน่าเที่ยว. กรุงเทพฯ: สารคดี.
จังหวัดกาฬสินธุ์. (2560). ประกาศหลักเกณฑ์การประกวดวงดนตรีพื้นบ้านโปงลาง “งานมหกรรมโปงลาง แพรวากาฬสินธุ์ ประจำปี 2560.” กาฬสินธุ์ : ผู้แต่ง.
ชัชวาล วงษ์ประเสริฐ. (2535). ศิลปะการฟ้อนภาคอีสาน (พิมพ์ครั้งแรก). มหาสารคาม :ฝ่ายวิชาการ สำนักวิทยาบริการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมหาสารคาม.
ทวีเกียรติ ไชยยงยศ. (2538). สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ: ฝ่ายเอกสารและตำราสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
ธีระยุทธ์ มูลละออง. (2553). การศึกษาและพัฒนาเครื่องแต่งกายไทยทรงดำเพื่อธุรกิจชุมชน:กรณีศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. ปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการออกแบบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เปลื้อง ฉายรัศมี. (2550). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
วิภาพร ฝ่ายเพีย. (2556). การสร้างสรรค์ฟ้อนพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปะการแสดง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์. (2554). แพรวากาฬสินธุ์. กาฬสินธุ์ : เสียงภูพาน.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.