การพัฒนาการเรียนการสอนด้านทัศนมิติโดยใช้การจัดการองค์ความรู้เป็นฐาน : กรณีศึกษา เทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพ โดยการอ้างอิงจากภาพด้าน

ผู้แต่ง

  • ชนัส คงหิรัญ คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเขียนภาพทัศนียภาพภายใน, การอ้างอิงจากภาพด้าน, องค์ความรู้, กิจกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการเรียนการสอนด้านทัศนมิติโดยใช้การจัดการองค์ความรู้เป็นฐาน : กรณีศึกษาเทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้าน มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้านก่อนและหลังการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 2) เพื่อประเมินความสามารถด้านการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้าน และ 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง เทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้าน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 10 คน โดยใช้วิธีการกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบเจาะจง

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคนิคการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้านของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลังการสอนโดยใช้การจัดการองค์ความรู้เป็นฐานสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           2) ผลการประเมินความสามารถด้านการเขียนภาพทัศนียภาพโดยการอ้างอิงจากภาพด้าน นักศึกษามีความสามารถหลังเรียนด้วยสถิติ t-test อยู่ในระดับปานกลาง สูงกว่าความสามารถก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

           3) นักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก จึงสรุปได้ว่า กิจกรรมการเรียนรู้และองค์ความรู้มีประสิทธิภาพในการเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะของนักศึกษาได้

References

กมลทิพย์ บริบูรณ์. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการสอนแบบสาธิต เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. [ออนไลน์] ค้นเมื่อ 16 เมษายน 2563. เข้าถึงจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/HMP13.pdf

จารุวรรณ ทูลธรรม และกิตติ ทูลธรรม. (2559). “การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบสาธิต เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะทางการปฏิบัติในการใช้งานออสซิลโลสโคป ระดับปริญญาตรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์”. วารสาร มทร.อีสาน, 3: 45-54.

จารุวัส หนูทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบสาธิตร่วมกับบทเรียนบนเครื่องช่วยงานส่วนบุคคลแบบดิจิทัล (PDA). ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เฉลิม รัตนทัศนีย. (2535). การเขียนแบบสถาปัตยกรรม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชวลิต ดาบแก้ว. (2549). การเขียนภาพ PERSPECTIVE (ทัศนียวิทยา). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อรรณพ พลชนะ. (2561). “พัฒนาการของงานเขียนทัศนียภาพกับคุณภาพการสื่อสาร แนวคิดงานออกแบบ”. วารสารวิชาการออกแบบสภาพแวดล้อม, 2: 131-147.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20