ความงามจากร่องรอยของอดีต

ผู้แต่ง

  • ป่านทิพย์ พัฒรชนม์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

รักสมุก, ความงาม, ร่องรอยของอดีต, ลายรดน้ำ

บทคัดย่อ

           การวิจัยและงานสร้างสรรค์ในหัวข้อ “ความงามจากร่องรอยของอดีต” ภาพจิตรกรรมฝาผนังและลายรดน้ำที่ลบเลือนไปตามกาลเวลานั้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังได้ปรากฏร่องรอยที่ยังมีสีชั้นแรกแบบบาง ๆ การหลุดร่อนของชั้นปูนจากชั้นแรกไปจนถึงชั้นเขียนสี ยังคงเหลือรูปทรงของเส้น สี และภาพเพียงบางส่วนให้ได้เห็นกันในปัจจุบัน แม้ความสมบูรณ์ในเนื้อหาและเรื่องราวแทบจะไม่หลงเหลือให้เห็นแล้ว แต่กาลเวลาก็ได้ทิ้งร่องรอยบางส่วนให้ได้เห็นความงามนี้ไว้ สร้างความประทับใจและเป็นที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานของผู้วิจัย ด้วยว่าผลงานสร้างสรรค์ที่ผ่านมานั้น ได้ใช้เทคนิคการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามพื้นดินสอพองในรูปแบบของจิตรกรรมไทยร่วมสมัย ในการวิจัยและสร้างสรรค์ผลงานชุดนี้ผู้วิจัยมีความสนใจเทคนิควิธีการที่ต่างไปจากเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อวิจัยผลงานสร้างสรรค์จากการเขียนสีฝุ่นบนพื้นกาวเม็ดมะขามดินสอพอง เป็นการเขียนลายรดน้ำบนพื้นแบบโบราณที่เรียกว่า “รักสมุก” ด้วยเรื่องราวจากร่องรอยที่หลงเหลือของภาพจิตรกรรมฝาผนัง

           ความงามที่เกิดจากร่องรอยของภาพจิตรกรรมฝาผนังและลายรดน้ำที่ลบเลือนและหลงเหลือร่องรอยเพียงบางส่วน นำมาพัฒนาแนวความคิด เป็นที่มาในการนำเสนอผลงานวิจัยสร้างสรรค์ในรูปแบบเทคนิคลายรดน้ำด้วยการทำพื้นรักสมุกชุดนี้ พบว่าผลของการวิจัยทำให้ผู้วิจัยได้เข้าใจถึงความตั้งใจ ใส่ใจพิถีพิถันและประณีตในงานศิลปกรรมไทยทุกแขนงของครูช่าง เห็นได้จากงานจิตรกรรมไทยที่ได้ศึกษาทำให้รู้สึกภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าของศิลปะประจำชาติไทยของเรา

           การวิจัยผลงานสร้างสรรค์ จากที่มาของแนวความคิดและแรงบันดาลใจในการศึกษาค้นคว้าเทคนิควิธีการ กระบวนการ การเขียนลายรดน้ำบนพื้นรักสมุกนี้ นำมาซึ่งการสร้างสรรค์ผลงาน ได้เรียนรู้วิเคราะห์กระบวนการ ขั้นตอนการทำงานและการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น     ความงดงามที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังนั้น เป็นสิ่งที่เราคนไทยต้องช่วยกันอนุรักษ์และสืบสานไว้เพื่ออารยธรรมของชาติบ้านเมืองต่อไป

References

กานต์ชลี สุขสำราญ. (2554). โครงการวิจัยและงานสร้างสรรค์ จินตนาการจากความต่างของสภาพแวดล้อม (Imagination from Difference of The Environment). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงจาก http://cfasp.bpi.ac.th/research/kanchalee%20research1.pdf

ฉลอง ฉัตรมงคล. (ม.ป.ป.). “ความรู้ด้านการทำลายรดน้ำแบบโบราณ” กลุ่มงานช่างเขียนและช่างลายรดน้ำ สำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.finearts.go.th/storage/contents/detail_file/QQLwXIkr4hCqlcMQR1450IHiKcC5rH6lwxpWVDqC.pdf

สนั่น รัตนะ. (2547). “โครงการศึกษาค้นคว้าวิจัยลายรดน้ำ” ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

________. (2559). “แลรัก” ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน). พระนครศรีอยุธยา : บริษัท หลอแอนด์เล้ง พับลิชชิ่ง จำกัด.

สิปปวิชญ์ บุณยพรภวิษย์. (2558). “สมุดภาพลายรดน้ำ” เล่ม ๑ เล่ม ๒. โครงการสำรวจตู้พระธรรมทั่วไทย ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำนักหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-20